Intel Core i7-5820K Processor Review

วันนี้พวกเราก็มีโอกาสได้สัมผัสกับสุดยอด Platform Hi-End ล่าสุดจากค่าย Intel ซึ่งก็จัดว่าเป็น Platform ใหญ่ที่สุดแล้วก็ว่าได้กับเจ้า Intel X99 Platform ที่มาพร้อมกับ CPU รุ่นใหม่อย่าง Intel Core i7-5xxx Series และสำหรับ Haswell-E 22nm. Processor ที่เราจะนำมาเสนอให้ชมกันในวันนี้ก็จะเป็นน้องเล็กสุดอย่าง Intel Core i7-5820K retail หรือตัวขายจริงนั่นเอง และก่อนที่เราจะไปรับชมประสิทธิภาพของเจ้า CPU รุ่นใหม่นี้ เราก็ขอกล่าวถึงรายละเอียดและโครงสร้างของ CPU และ Platform X99 กันสักเล็กน้อยเพื่อความเข้าใจและให้เห็นว่ามีอะไรเปลี่ยนไปบ้าง ไปติดตามชมกันเลยครับ
Intel Core i7-5820K Processor

Feature
- 6 Cores / 12-Way Multitask Processing
- Intel Turbo Boost Technology 2.0
- Intel Hyper-Threading Technology
- Intel Smart Cache Technology
- Integrated Memory Controller
- Support Four-Channel DDR4 Memory
- Three-Year Limited Waranty
Intel X99 Platform

สำหรับเจ้า Intel Core i7-5xxx Series รุ่นใหม่นั้นก็จะมาพร้อมกับชิปเซทใหม่ Intel X99 Chipset และยังเปลี่ยน Socket เป็น LGA2011-V3 หรือ Version ใหม่แตกต่างไปจาก LGA2011 ตัวเดิม และแน่นอนว่า CPU รุ่นเก่านั้นไม่สามารถนำมาต่อใช้งานได้กับเมนบอร์ดรุ่นใหม่ที่ใช้ Socket LGA2011-V3 ครับ (Pins และ Mark ก็ไม่เหมือนกันแล้ว) นอกจากนี้แล้วมันยังจำเป็นต้องต่อใช้งานร่วมกับ Memory DDR4 แบบ Quad Channel และแน่นอนว่า DDR3 ไม่สามารถนำมาต่อใช้งานร่วมกันได้อย่างแน่นอน หรือจะพอสรุปได้ว่าใครที่คิดจะก้าวเข้ามาสู่ Platform ใหม่นี้คุณต้องซื้อใหม่ทั้งหมดไม่ว่า CPU, Motherboard และ Memory DDR4 Module
Intel Core i7-5960X Die

นี่คือภาพ Die ของตัว CPU Haswell-E Processor 22nm. ซึ่งผลิตออกมาด้วยกัน 3 Model ได้แก่รุ่น Core i7-5960X, Core i7-5930K และ Core i7-5820K และสำหรับภาพด้านบนนี้คือ Die ของเจ้า i7-5960X ครับ ส่วนภาพ Die ของ i7-5820K นั้นผมหาภาพไม่เจอเลย คิดว่าน่าจะเป็น Die แบบเดียวกันแต่อาจจะทำการ Disable Core ออกไป หรือไม่ก็ทำแยกขึ้นมาใหม่ ผมเดาเอานะครับ ^^"
Spec.

สำหรับรายละเอียดทางด้านเทคนิคของตัว Haswell-E ในแต่ละรุ่นนั้นก็คือแต่ละตัวผลิตด้วยเทคโนโลยี 22nm. เช่นเดียวกับ Haswell/Refresh 22nm. บน Socket LGA 1150 นั่นล่ะครับ เพียงแต่ว่าครั้งนี้ทาง Intel ก็ได้จับยัดลงบน Socket LGA2011-3 นั่นเอง โดยมีอยู่ทั้งหมด 3 รุ่นได้แก่พี่ใหญ่ Intel Core i7-5960X ความเร็วเดิมๆ Clock Base อยู่ที่ 3.0Ghz และ Turbo Boost สูงสุดที่ 3.5Ghz มีจำนวน Core ทั้งหมด 8 Core แท้พร้อมกับกับเทคโนโลยี Hyper Threading จึงทำให้มันมีแกนประมวลผลเสมือนมากว่า 16 Threads (8Core/16Threads) กันเลยทีเดียว ส่วนราคานั้นก็ต้องไว้เท่าเดิมสำหรับ CPU ตระกูล Xtreme Edition ที่ 999 USD หรือประมาณ 3x,xxx.- บาทไทยนั่นเอง ส่วนระดับ L3 Cache ของมันนั้นมีมากถึง 20MB กันเลยทีเดียว และ PCI-E Lane ที่เปิดไว้ที่ 40Lane, อัตราบริโภคพลังงานนั้นสูงสุดที่ TDP 140Watt
CPU รุ่นรองลงมานั้นก็คือรุ่น Intel Core i7-5930K จะถูกลด Core ลงมาเหลือเพียง 6Core/12Threads และมี L3 Cache อยู่ที่ระดับ 15MB, จำนวน PCI-E Lane นั้นมี 40 Lane ความเร็วของ CPU อยู่ที่ 3.5Ghz และ Turbo Boost สูงสุด 3.7Ghz ราคา 583USD หรือประมาณ 2x,xx.- บาทไทย และสำหรับรุ่นเล็กสุดในตระกูลก็คือ Intel Core i7-5820K มีอยู่ 6Core/12Threads เช่นกันกับ Core i7-5930K ไม่ว่าจะเป็น L3 Cache 15MB เท่ากัน ส่วนความเร็วในการทำงานต่ำกว่าประมาณ 100Mhz คือ 3.3Ghz พร้อมกับ Turbo Boost 3.6Ghz แต่สิ่งที่ต่างไปจริงๆ เลยก็คือข้อจำกัดในเรื่องของ PCI-E Lane ที่บอกได้เลยว่ามีให้เพียง 28Lane เท่านั้น (Haswell ธรรมดามีอยู่ 16 Lane) ดังนั้นหากใครที่คิดจะเล่นระบบ Multi-GPU แบบ 4-Ways ทั้ง AMD CrossfireX และ NVIDIA SLI จำเป็นต้องวิ่งเข้าหา CPU ที่มี PCI-E 40Lane อย่างเจ้า i7-5960X และ i7-5930K เท่านั้นครับ ส่วนเจ้า i7-5820K นั้นทำได้เต็มที่ก็ 3-Ways Multi-GPU เท่านั้นเพราะมี PCI-E 28 Lane เท่านั้นครับ ส่วนราคาขายของมันนั้นก็น่าเร้าใจมากๆ อยู่ที่เพียง 389USD ต่างกับ i7-4790K เพียงเล็กน้อยเท่านั้น โดยคิดเป็นเงินไทยประมาณ 13,900.- บาทเท่านั้นครับ
Intel Socket LGA2011-V3

Haswell-E นั้นมากับ Socket LGA2011-V3 แบบใหม่ดังนั้น CPU Socket LGA 2011 ตัวเดิมไม่สามารถที่จะใส่ร่วมกันได้อีกต่อไป และนนอกจากนนี้ Memory Controller ก็เปลี่ยนไปใช้กับ DDR4 แล้วด้วย ดังนั้นอยู่ที่คิดจะย้ายมาเล่น Platform ใหม่นี้ต้องซื้อกันใหม่ยกเซทเลยทีเดียว

นี่คือหน้าตาของ Intel Core i7-5820K Retail Box ตัวขายจริงครับ มากับกล่องสีฟ้าบางๆ คล้ายกับ CPU Platform เดิมเลยล่ะครับ ราคาขาย ณ ตอนนี้อยู่ที่ 13,900.- บาท

ภาพในกล่องก็จะมันมีแต่ตัว CPU และเอกสารคู่มือเท่านั้น อย่าตกใจนะครับว่าไม่มี Heatsink แถมมาให้หรืออย่างไร ? คำตอบคือตั้งแต่ Intel ทำ Platform LGA2011 ขึ้นมานั้นจะไม่มีการแถม Heatsink มาให้อยู่แล้วนะครับ ถือผู้ใช้ต้องหา CPU Coolling คู่ใจกันเอง ให้สมกับ Hi-End Platform นั่นเอง

Intel Core i7-5820K 22nm. Processor, 6Core/12Threads, Speed 3.3Ghz/Turbo 3.6Ghz, L3 Cache 15MB, PCI-E 28Lane, TDP 140Watt

ภาพถ่ายมุมตรงจากด้านหน้าของ i7-5820K ครับ สังเกตุได้เลยว่าตัวกระดองนั้นจะมา Plate เพิ่มขึ้นมายังบริเวณด้านลบและด้านล่างของ CPU ออกแบบมาไว้ให้ตัว Socket หนีบมันให้แน่นนั่นเอง

บริเวณด้านหลังของตัว CPU ครับก็จะเห็นได้ว่ามี Pins เต็มไปหมด เยอะกว่าของ 2011 ตัวเดิมเสียอีก

มาดูภาพเปรียบเสียบกันสักเล็กน้อยสำหรับ CPU ทั้ง 3 รุ่นได้แก่ ด้านซ้ายมือสุดคือ i7-5820K (Haswell-E socket LGA2011-V3), ถัดมาตรงกลางคือ i7-3820 รุ่นเล็กสุดของตระกูล LGA2011 ในยุคเริ่มแรก (Sandy Bridge-E LGA-2011) และด้านขวาสุดคือ i7-4770K (Haswell Socket LGA-1150)

บริเวณด้านหลังของ Pins ของ CPU ครับจะเห็นได้ว่าระหว่าง haswell-E และ Sandy-E นั้นต่างกันอย่างชัดเจน โดยช่วงนี้ก็คงเป็นยุคที่เทคโนโลยีในการผลิตของทั้ง Mainstream Platform และ Hi-End Platform นั้นเท่าเทียมกันเสียทีระหว่าง Haswell / Haswell-E

ต่อไปเราก็มาดูถึงตัวชิปเซท Intel X99 กันต่อว่ามีอะไรที่แตกต่างกันไปบ้าง จากเท่าที่สังเกตุแล้วนั้นที่ต่างไปอย่างชัดเจนเลยดูเหมือนจะเป็นรองรับ SATA3.0 6Gb/s ได้แบบ Native ถึง 10 Ports กันเลยทีเดียว ซึ่งถือว่าต่างไปจาก X79 ได้อย่างชุดเจนที่มีเพียง 2 ช่องเท่านั้นมั้งครับถ้าผมจำไม่ผิด ส่วน UBS3.0 นั้นก็เพิ่มแบบ Native ที่ 6Port จากตัว Chipset เช่นกัน และ USB2.0 นั้นมีทั้งหมด 8 Ports ครับ ส่วน Intel ME Firmware นั้นเป็น Version 9.1 สุดท้ายในเรื่องของ M.2 Socket หรือ SATA Express นั้นก็แล้วแต่ว่าผู้ผลิตเมนบอร์ดแต่ละค่ายจะหยิบมาใส่และ Config ความเร็วกันเท่าไรนั้นก็ต้องดูว่าเมนบอร์ดแต่ละรุ่นให้อะไรมาบ้างครับ
Intel X99 PCH

หน้าตาแบบชัดๆ ของ Intel X99 PCH ครับ

สำหรับเมนบอร์ดชิปเซท intel X99 ที่เราจะนำมาทดสอบในครั้งนี้ก็จะเป็นของ GIGABYTE X99-SOC FORCE ครับ ส่วนการ์ดจอนั้นเป็นของ Galaxy Geforce GTX780 Ti HOF V2.0 3GB

สำหรับสิ่งที่เปลี่ยนแปลงอีกจุดหนึ่งของ Platform X99 นั้นคือตัว CPU Haswell-E นั้นได้ออกแบบชุด Memory Controller ให้รองรับกับ DDR4 เป็นที่เรียบร้อยแล้ว แนะแน่นอนว่ามันจำเป็นต้องเปลี่ยนมาใช้ DDR4 Module ด้วยนั่นเอง ซึ่งเราไม่สามารถนำ DDR3 Module มาติดตั้งได้กับ Pltform นี้ได้อีกต่อไป และก็ถือว่าเข้า Haswell-E นั้นเป็น Desktop Platform แรกที่มีการขยับมาใช้ DDR4 เป็นครั้งแรกนั่นเอง สำหรับ Haswell-E นั้นมี Memory Controller DDR4 แบบ Quad-Channel เช่นเดียวกับ Sandy-E และ Ivy-E เพียงแต่เปลี่ยนการทำงานในแบบเดิมคือ Multi Drop Bus ไปเป็นแบบ Point-to-Point แทนใน DDR4 ซึ่งตัว Controller สามารถติดต่อกับแรมแต่ละ Channel ได้โดยตรง
และนอกจากนนี้เจ้า DDR4 นั้นยังออกแบบมาให้มีอัตราการใช้พลังงานที่ต่ำลงอีกด้วย โดยตัวมันเองจะใช้ไฟเลี้ยงเริ่มต้นที่ VDIMM @ 1.2V เท่านั้นครับและมีความเร้ว Native ตั้งแต่ DDR4-2133 (1066Mhz) ไปจนถึงระดับ DDR4-4266 (2133Mhz) กันเลยทีเดียวครับ ซึ่งยุคต่อไปนี้เราก็คงจะได้เห็นตัวเลขความเร็วของ DDR4 กันในระดับ DDR3000+ กันเป็นเรื่องธรรมดากันในอนาคตอย่างแน่นอนครับ และสำหรับ Platform นี้คุณก็จำเป็นต้องแรม DDR4 อย่างน้อย 4 แผงเพื่อให้มันทำงานแบบ Quad-Channel เต็มประสิทธิภาพของ Platform นี้ (ในที่นี้ก็ยังต่อใช้งานได้ทั้งแบบ Single, Dual และ Tripple-CH นะครับ) สำหรับ Memory ที่เราได้นำมาทดสอบร่วมในครั้งนี้เป็นของค่าย AVEXIR PLATINUM Series DDR4-2400C16 16GB QuadChannel

สำหรับชุดทดสอบ compare เทียบกันในบทความนี้เราจะใช้ System ทดสอบทั้งหมด 3 Platform ด้วยกันวึ่งก็มีเท่าที่พวกเราพอจะหาได้ล่ะครับ เสียอย่างเดียวขาด Ivy Bridge-E แต่ก็ไม่เป็นไรครับแค่นี้ก็พอจะเทียบให้เห็นกันแล้วว่าประสิทธิภาพในการ ทดสอบต่างกันอย่างไร ในการทดสอบของเรานั้นก็จะทำสอบที่ความเร้วเดิมๆ ของ CPU จากโรงงานในทุก Platform แต่สำหรับความเร็วของ Memory นั้นผมอาจจะไม่ได้ปรับแบบ netive นะครับ โดย i7-5820K + DDR4-2400 CL16, i7-3820 + DDR3-2133 CL9 และ i7-4770K + DDR3-2400 CL10
System X99 Platform + Core i7-5820K

Spec.
CPU | Intel Core i7-5820K (Haswell-E) |
CPU Cooler | Water Cooling Custom Set |
Motherboard | GIGABYTE X99-SOC FORCE |
Memory | AVEXIR Platinum Series DDR4 2400C16 16GB-Kit |
VGA | GALAXY NVIDIA Geforce GTX780 Ti HOF V2 3GB. |
Hrad Drive |
Intel SSD520 240GB x1 (OS)
|
PSU | CoolerMaster V1200 |
OS | Window 7 Ultimate SP1 64-Bit |
Display Driver | NVIDIA Forceware 340.52 Win7/64Bit |

System X79 Platform + Core i7-3820

Spec.
CPU | Intel Core i7-3820 (Sandy Bridge-E) |
CPU Cooler | Water Cooling Custom Set |
Motherboard | ASUS RAMPAGE IV GENE |
Memory | Team Xtreem DDR3-2400C10 16GB-Kit |
VGA | GALAXY NVIDIA Geforce GTX780 Ti HOF V2 3GB. |
Hrad Drive |
Intel SSD520 240GB x1 (OS)
|
PSU | CoolerMaster V1200 |
OS | Window 7 Ultimate SP1 64-Bit |
Display Driver | NVIDIA Forceware 340.52 Win7/64Bit |

System Z97 Platform + Core i7-4770K

Spec.
CPU | Intel Core i7-4770K (Haswell) |
CPU Cooler | Water Cooling Custom Set |
Motherboard | MSI Z97 MPOWER MAX AC |
Memory | Team Vulcan DDR3-2400C10 8GB-Kit |
VGA | GALAXY NVIDIA Geforce GTX780 Ti HOF V2 3GB. |
Hrad Drive |
Intel SSD520 240GB x1 (OS)
|
PSU | CoolerMaster V1200 |
OS | Window 7 Ultimate SP1 64-Bit |
Display Driver | NVIDIA Forceware 340.52 Win7/64Bit |

Intel Turbo Boost Technology 2.0
i7-5820K : Max Boost @ 3.6Ghz with 2 Core

เอาล่ะครับก่อนที่จะไปชมประสิทธิภาพการทำงานของเจ้า i7-5820K ใน Benchmark ต่างๆ นั้นเรรมาดูการทำงานของระบบ Intel turbo Boost 2.0 บน CPU รุ่นนี้กันก่อน โดยมันสามารถเพิ่มความเร็วจากเดิมๆ Clock Base 3.3Ghz ขึ้นไปได้ที่ความเร็ว 3.6Ghz ในชั่วขณะหนึ่งได้ หรือเปรียบได้ว่าทำงาน 2D ที่ไม่ได้ใช้งานอะไรหนักมาก มันก็จะสามารถเพิ่มความเร็วได้สูงสุด 2 Core ที่ 3.6Ghz ส่วน Core อื่นๆ จะทำงานที่ 3.4Ghz
i7-5820K : Max Boost @ 3.4Ghz with 6 Core

และสำหรับ Turbo Boost ในงานที่หนักขึ้นหรือใช้งานเต็มที่ทั้ง 6 Core ก็จะลดความเร็วลงมาที่ระดับ 3.4Ghz สูงสุดในทุกๆ Core นั่นเองครับ และนี่ก็เป็นระบบการทำงานคร่าวๆ ของ intel Turbo Boost 2.0 ที่สามารถเร่งความหรือหรือการ Overclock ขึ้นไปเองโดยอัตโนมัติ เพื่อให้ได้ประสิทธิภาพสูงสุดในการทำงานของ Processor นั่นเอง
Super Pi1MB Single Thread

เอาล่ะครับมาชมประสิทธิภาพจาก benchamrk มากแรกของเจ้า i7-5820K กันเลยกับ Super Pi 1Mb หัวเดียว ใช้เวลาคำนวณอยู่ที่ 10.124 นาที จะว่าไปแล้วก็ช้ากว่าชาวบ้านนั่นล่ะครับ เพราะว่าโปรแกรมคำนวณนี้เน้นไปที่เรื่อง Ghz ความเร็วเป็นหลักด้วย ซึ่ง i7-5820K นั้นมีความเร็วในการทำงานที่ 3.3Ghz - 3.6Ghz สูงสุดเพียงเท่านั้น ส่วน i7-4770K ที่งานที่ความเร็วเดิมๆ ระดับ 3.5Ghz - 3.9Ghz ก็ไม่ใช่เรื่องแปลกที่จะเร็วกว่าครับ ส่วน i7-3820 ความเร็วจะอยู่ในช่วง 3.6Ghz - 3.8Ghz ดังนั้นผลการทดสอบของ Super Pi นั้นก็ตามความเร็วของสัญญาณนาฬิกานั่นเอง
Super Pi32MB Single Thread

ส่วน Super Pi คำนวณที่ 32MB ก็ให้ผลที่ต่างกันเล็กน้อยกับ 1MB เพียงแต่ว่า i7-5820K นั้นกลับมาทำได้ดีกว่า i7-3820 อยู่ประมาณ 6 วินาที ซึ่งก็น่าจะเป็นประสิทธิภาพ Mhz : Mhz ของสถาปัตยกรรม haswell แรงกว่า Sandy Bridge นั่นเอง และ Cache ของ i7-5820K ก็ใหญ่กว่าถึง 15MB เลยทีเดียวดังนั้นผลการทดสอบนี้ก็ทำให้เห็นว่า ถึงมันจะมี Ghz ที่ต่ำกว่าแต่ประสิทธิภาพเมื่อทำงานที่ใหญ่ขึ้นก็เห็นผลได้อย่างชัดเจนครับ
LinX 0.6.5 AVX Version. (GFlops)

และสำหรับ GFlops จากโปรแกรม linX 0.6.5 AVX Version นั้นบอกได้เลยว่า CPU หัวเยอะๆ ได้รียบอย่างมากดูอย่าง i7-5820K ตอนนี้ที่มาพร้อมกับ AVX 2.0 ปั่นได้มากถึง 238.717 GFlops กันเลยทีเดียวครับ และสำหรับ i7-3820 ที่มากับ AVX1.0 ของเก่านั้นเล่นไปไม่ถูกกันเลยทีเดียวเอิ๊กๆ เรียกว่างานใครงานมัน ของใหม่ๆ ก็ย่อมมีเทคโนโลยีและชุดคำสั่งที่เหนือกว่าเป็นเรื่องธรรมดา
AIDA64 Memory Read

มาต่อการในเรื่องของระบบ Memory Bandwidth กันต่อกับก็จะทดสอบด้วย AIDA64 ในหัวข้อของ Cache & Memory Benchmark ยอดนิยมกัน เริ่มจาก Memory Read ก่อนก่อนเลย ซึ่งเจ้า i7-5820K นั้นออกตัวนำก่อนเลยกับ Mem Read 46579Mb/s ด้วยอานิสงส์ของ DDR4-2400 ถึงแม้ CL16 จะสูงลิ่วแต่ก็สามารถส่งข้อมูลได้เยอะกว่า
AIDA64 Memory Write

Memory Write นั้นทาง i7-3820 นั้นยังได้เปรียบอยู่พอสมควรครับ คงเป็นเพราะแรม DDR3-2133 CL9-11-11-28 อาจจะส่งผลต่อประสิทธิภาพที่ดีกว่า
AIDA64 Memory Copy

และในส่วนของ Memory Copy นั้นทาง i7-5820K ก็กลับมานำขึ้นอีกครั้งกับ Mem Copy ระดับ 50580Mb/s กันเลยทีเดียวครับ
AIDA64 Memory Latency

ส่วนในเรื่องของ Memory Latency นั้นก็บอกได้เลยว่าถ้าแรม CL ต่ำกว่าก็ย่อมมีค่า Latency ที่ต่ำกว่าอย่างเห็นได้ชัดและที่ดีที่สุดนั้นก็ดูเหมือนจะเป็น i7-4770K + DDR3-2400 CL10 ครับ
x264 FHD Benchmark 64bit

ต่อมาก็ชมต่อกันกับ Benchmark ในกลุ่มของการ Encoding และ Rendering เริ่มกันกับ x264 FHD Benchamrk กันก่อนเลย แน่นอนว่า CPU ที่มีจำนวน Core เยอะกว่าอย่าง i7-5820K นั้นสามารถทำได้ที่ 32.56fps. กันเลยทีเดียว
Frybench

และสำหรับ FryRender นั้น i7-5820K ก็จัดว่าเป็นงานถนัดอีกเช่นกันใช้เวลา Render ต่ำสุดเพียง 3.18 นาทีเท่านั้นครับ
Cinebench R11.5

Cinebench R15

สำหรับ Cinebench ทั้ง 2 รายการก็ยังคงเป็น i7-5820K ที่เหนือชั้นกว่าทุกการทดสอบด้วยจำนวน Core และ Thread ที่มีมากกว่า 6c/12t จึงทำให้มันทรงพลังที่สุดสำหรับงานด้านการ Encoding และ Rendering
PCMark 7

ทดสอบต่อกันในเรื่องของประสิทธิภาพโดย รวมของ Systems ทั้งหมด พบว่าดีที่สุดในตอนนี้คือ i7-4770K ตรงนี้ผมว่าน่าจะเป็นเรื่องของ Ghz ที่สูงกว่า CPU ตัวอื่นๆ ก็เป็นได้ครับ
PCMark 8 : HOME

และสำหรับ PCMark 8 HOME ก็เช่นเดียวกันกับ PCMark 7 ที่คะแนนโดยรวมแล้ว i7-4770K ทำได้ดีกว่าครับ
Realbench V2.2

สุดท้ายกับ Realbench ซึ่งจัดว่าเป็นโปรแกรม Benchamrk ตัวหนึ่งที่น่าสนใจ ด้วยที่ว่าโหมดการทดสอบต่างๆ นั้นใกล้เคียงกับการใช้งานของเราทั่วๆ ไปอย่างมากไม่ว่าจะเป็นการทำภาพใน Image Editing, Encoding, OpenCL และ Havy Multitasking เป็นตอน ซึ่งคะแนนรวมของ System Score นั้นทาง i7-5820K ทำได้ดีที่สุดที่คพแนน 83088 แต้มและหัวข้อที่เห็นได้ชัดเจนก็คือในหมวดของ Encoding และ Havy Multitasking ที่เป็นงานถนัดของมันนั่นเอง....
3DMark Vantage [DX10]

ประสิทธิภาพทางด้าน 3D กันบ้างกับ 3DMark Vantage ที่ใช้ DX10 ในการทดสอบประสิทธิภาพ โดยเราจะมาดูว่าการทำงานร่วมกับการ์ด GTX780 Ti นั้นให้ประสิทธิภาพต่างกันอย่างไรในแต่ละ Platform มาดูในส่วนของคะแนนรวมของ P Score หรือ Performance Score ก็พบว่า i7-5820K นั้นทำคะแนนรวมได้ดีกว่า CPU ตัวอื่นๆ โดยได้คะแนนในส่วยของ CPU Score ค่อนข้างเยอะเลยทีเดียว ที่ 38K แต้ม ส่วย Graphics Performance นั้นเป็นรองเพียงแค่ i7-4770K ที่มี Ghz เดิมๆ ที่สูงกว่านั่นเอง
3DMark 11 [DX11]

ส่วน 3DMark 11 นั้นก็ให้ผลการทดสอบที่ดีกว่า โดยก็ไม่ได้ทิ้งห่างไปจาก i7-4770K เสียเท่าไรนัก โดยหัวข้อที่ทำได้ดีนั้นคือในส่วนของ Combiend Score และ Physics Score ครับ
3DMark Sky Drive [DX11]

และสำหรับ 3DMark Sky Diver DX11 ตัวใหม่ที่ไม่ใช้ Engine ที่หนักมากก็ให้ผลการทดสอบโดยรวมว่า i7-5820K นั้นทำคะแนนได้ค่อนข้างดีที่สุดครับ
3DMark Fire Strike [DX11]

สุดท้ายกับ 3DMark Fire Strike โดยรวมแล้วก็ยังคงเป็น i7-5820K ที่ทำคะแนนได้ดีที่สุดครับ ก็นับว่าประสิทธิภาพโดยรวมแล้วหากหนักไปทางด้าน Physics Score ที่ใช้ CPU ช่วยในการประมวลผลนั้นทาง i7-5820K ค่อนข้างจะทำหน้าที่ได้ดีที่สุดเพราะมีจำนวน Thread ที่เยอะกว่านั่นเอง
Battlefield 4

เอาล่ะครับทำชมประสิทธิภาพทางด้าน Gaming หรือการเล่นเกมจริงๆ ดุกันบ้าง เริ่มจากเกม Battlefield 4 กันก่อนเลยที่ความละเอียด 1080p + Ultra Quality พบว่าค่าเฉลี่ยของการเล่นเกมนั้นแทบไม่ต่างกันเลยสำหรับ CPU ทั้ง 3 รุ่น ดีที่สุดคือ 4770K รองลงมาก็คือ 5820K และ 3820 ตามลำดับ โดยต่างกันเพียง 1-2 fps. เท่านั้น นับว่าเล่นไม่มีอะไรต่างกันมากครับ
Crysis 3

สำหรับ Crysis 3 นั้นดูเหมือนว่าจะมีอะไรที่ดูแตกต่างขึ้นชัดเจนสำหรับเจ้า i7-5820K ที่มีค่าเฉลี่ยของเกมนี้ดีที่สุด 73.66 fps.
Tomb Raider 2013 Benchmark

และ Tomb Raider 2013 Benchamrk นั้น ก็พบว่ามีผลการทดสอบที่ใกล้เคียงกันเช่นเดิม โดยที่ 5820K ทำค่าเฉลี่ยได้น้อยที่สุด คาดว่าโปรแกรมนี้น่าจะใช้ Ghz ของ CPU เป็นหลักด้วยเช่นกัน
Metro Last Light

ต่อกันกับเกม MetroLL นั้นก็พบว่า 4770K มีค่าเฉลี่ยนในการเล่นเกมนี้ได้ดีที่สุดครับ โดยเป็นอีกหนึ่งเกมที่เน้นเรื่อง Ghz ของ CPU เป็นหลัก
DIRT 3 Benchmark

สำหรับเกมขับรถยอดนิยมอย่าง Dirt 3 Benchamrk ปรับสุดๆ กันที่ 1080p กับพบว่ามีค่าเฉลี่ยในการเล่นเกมของ CPU แต่ละตัวนั้นก็ยังคงใกล้เคียงกันเล่นเดิม โดยทาง 4770K จะได้เปรียบกว่าหลายๆ การทดสอบเนื่องด้วยความเร็วของ CPU นั้นสูงสุดสุดครับ
GRID 2 Benchmark

สุดท้ายกับเกม GRID 2 Benchamrk 1080p ปรับสุดๆ ก็พบว่าให้ผลการทดสอบที่ใกล้เคียงกับ DIRT 3 เลยล่ะครับ คงสรุปกันสั้นๆ ได้ว่าเรื่องการเล่นเกมนั้นก็อยู่ที่ความเร็วของ CPU เป็นหลักด้วย ถึงจะให้ประสิทธิภาพดี แต่ก็อย่าลืมว่า i7-5820K มีความเร็วในการทำงานที่ต่ำที่สุดของ CPU ทั้ง 3 รุ่นซึ่งมันให้ประสิทธิภาพใด้ใกล้เคียงกัน CPU ที่สูงกว่าแบบนี้ก็ถือว่าประสิทธิภา Mhz : Mhz ของมันนั้นก็ค่อนข้างแรงใช้ได้เลยล่ะครับ
CPU Power Consumption

มาพูดกันต่อในด้านของการใช้พลังงานกันต่อบ้างครับ อันนี้ชัดเจนเลยว่า i7-3820 ที่เป็นสถาปัตยกรรมเก่านั้นผลิตที่ 32nm. จะกินไฟเยอะกว่าชาวบ้านทุกการทดสอบอย่างเห็นได้ชัดเจน ส่วน i7-5820K นั้นในการทำงานต่างๆ จะมีอัตราการบริโภคพลังานที่ใกล้เคียงกับ i7-4770K ก็เนื่องด้วยว่ามันผลิตที่กระบวนการ 22nm. เหมือนกันนั่นเองจึงทำให้กินไฟไม่เยอะเหมือนกับเจ้า Sandy Bridge-E ครับ สรุปเรื่องการใช้พลังงานั้น Haswell/Haswell-E นั้นทำได้ดีมากเลยทีเดียว
Gaming Play

ดูรายละเอียดทางด้านพลังงานลึกเข้าไปอีกนิดครับ โดยผมได้เพิ่มผลการทดสอบรหว่างการเล่นเกม 3D จริงๆ ทั้ง 6 เกมที่เราทดสอบนี้มาเทียบให้ชมกันในแต่ละ Platform กันด้วย และก็ทำให้เห็นอย่างชัดเจนว่า i7-5820K นั้นกินไฟต่ำกว่า i7-3820 รุ่นเก่าอย่างชัดเจน โดย i7-3820 กินไฟขณะเล่นเกมเกิน 400 Watt + แทบทุกเกมเลยล่ะครับ
CPU Temperature Test

สุดท้ายกับผลการทดสอบในเรื่องของความร้อน ซึ่งชุดระบายความร้อนของเราในครั้งนี้ก็จะใช้ Water Cooling แบบ Custom Set ในการทดสอบกับ CPU ทั้ง 3 รุ่นในสภาวะแวดล้อมเดียวกันที่ห้องอุณหภูมิ 24c - 25c โดยจากการทดสอบพบว่า i7-5820K นั้นมีอุณหภูมิในการทดสอบที่ไม่ได้ร้อนตามที่ผมได้คากการณ์ไว้ในช่วงแรกก่อน การทดสอบ โดย Full Load จาก linX 0.6.5 AVX Version ที่ต้องบอกว่ามันร้อนกว่ามากๆ เลยทีเดียว ต่างกับ Version non-AVX รับ 10c กันเลยทีเดียวก็ว่าได้ โดยเย็นที่สุดคือ i7-3820 ที่ 47.25c เท่านั้น แต่ก็สร้าง GFlops ได้น้อยมาก จากการทดสอบที่เราได้นำเสนอเพราะมีแค่ชุดคำสั่ง AVX 1.0 เท่านั้น ถัดมาเป็น i7-5820K ที่ Full Load ที่ระดับ 54.33c ไม่ถึง 60c ก็รับว่าไม่ธรรมดาแล้วนะครับสำหรับ Haswell ที่ขึ้นชื่อว่าซิลิโคนใน Die นั้นห่วยมาก แต่สำหรับ i7-5820K นั้นถูกเชื่อมด้วยโลหะเข้ากับตัวกระดองเลย ดังนั้นใครซนไปแงะกระดอง Haswell-E ก็จะได้เห็น die CPU หลุดติดออกมาด้วยอย่างแน่นอน ดังนั้นอย่าแกะกระดองมันออก เพราะมันเชื่อมด้วยโลหะ(น่าจะเป็น Indium)เข้ากับกระดองมาให้ดีอยู่แล้ว (ดูภาพประกอบด้านล่าง) ส่วนที่ร้อนที่สุดนั้นก็คือเจ้า i7-4770K ที่ร้อนไปถึงระดับ 69.25c กันเลยทีเดียว นี่คือความเร็วเดิมๆ จากโรงงานเลยนะครับ... เห็นชัดเจนว่าซิลิโคนที่ทาระหว่างบน TIM กับกระดอง CPU นั้นมีประสิทธิภาพที่ไม่สู้จะดีนัก ดังนั้น Haswell-E ได้แก้ไขปัยหาเรื่องการนำความร้อนจาก Core สูงกระดองเป็นที่เรียบร้อยแล้ว จึงทำให้มันไม่ร้อนมากนั่นเองครับ

นี่คือภาพที่ผมหาเจอโดยบังเอินจากเวป Xtreview.com ที่ทำการผ่าแงะกระดองของ i7-5820K ออกมาดูพบว่าต้องพบกับฝันร้ายในทันที เมื่อภาพที่เห็นได้คือ die ของ CPU หลุดติดออกมากับฝากระดองทำให้มันเสียหายอย่างถาวรในทันทีครับ ดังนั้นใครเห็นภาพนี้แล้วก็เตือนเลยว่าอย่าพยายามทำครับ !!!
« Prev
Next

Conclusion.
ก็เรียบร้อยไปแล้วนะครับสำหรับการทดสอบ Intel Core i7-5820K Haswell-E 22nm Processor 6Core/12Thread รุ่นใหม่ล่าสุดจากค่าย Intel น้องเล็กสุดใน Platform LGA2011-V3 โดยผมขอสรุปในเรื่องของงานที่มันถนัดเลยจริงๆ ก็คือด้าน Encoding และ Rendering ที่ i7-5820K นั้นมีประสิทธิภาพที่เหนือชั้นกว่า CPU ในแต่ละรุ่นที่เราได้นำมาทำการทดสอบกันในครั้งนี้ ถ้าเทียบกับน้องเล็กสุดของ LGA-2011 ยุคแรกเริ่มอย่าง i7-3820 (Sandy-E 32nm) ที่เป็น CPU 4Core/8Thread แล้วนั้นพบว่าประสิทธิภาพของ CPU รุ่นเล็กสุดของตะกูล Hi-End Platform ของ Intel ณ ตอนนี้อย่าง i7-5820K นั้นมีประสิทธิภาพที่เหนือชั้นอยู่มากพอสมควร รวมถึงอัตราการบริโภคพลังงานที่ทำได้ดีกว่าด้วยเช่นกัน และนอกจากนี้ค่าตัวของ i7-5820K นั้นก็ไม่ได้แรงมากอย่างที่เราได้คิดกันไว้ อยู่ที่13,900.- เท่านั้น และได้คุณภาพเทียบเท่าและใกล้เีคียงกับ Ivy-E ตัว Extreme ได้เลยทีเดียว ซึ่งค่าตัวของมันนั้นต้องจ่ายหนักถึง 3x,xxx.- กันเลยทีเดียว โดยมันก็ได้ 6Core/12Thread เหมือนกัน แต่ที่ต่างกันเลยคือ ต้องซื้อเมนบอร์ดใหม่และเรื่องของ DDR4 ที่ต้องซื้อใหม่ด้วยเช่นกัน ซึ่งราคาชุดหนึ่งก็เริ่มกันที่ระดับ 9800.- บาท ไปจนถึง 10,xxx บาทต้นๆ เลยทีเดียว
ถ้าดูในมุมมองของการ Upgrade จาก Sandy-E มาเป็ยน Haswell-E นั้นดูเหมือนว่าค่อนข้างคุ้มค่าอยู่พอสมวร หากใครที่มอง Platform นี้ไว้อยู่ก็อย่าได้รอช้าเลยครับ เพราะอนาคตอันใกล้นี้ก็คงขยับกันไปเล่น DDR4 กันอยู่แล้ว และจะคุ้มยิ่งกว่าถ้านำไปทำงานประเภท Encoding และ Rendering นั้นให้ประสิทธิภาพที่เห็นได้ชัดเจน รวมถึงอัตราการใช้พลังงานที่ต่ำกว่าอย่างชัดเจนอีกด้วย ส่วนในด้านของ Gaming นั้นผมมองว่าถ้าตั้งใจซื้อมาเล่นเกมอย่างเดียว อาจจะดูว่าไม่คุ้มกับเม็ดเงินที่เสียไปสักเท่าไรนัก แต่ถ้าหากต้องการความสดใหม่ และเทคโนโลยีล่าสุดแล้วล่ะก็จัดไปครับถ้ากระเป๋าหนักพอหรือเรื่องเงินไม่ใช่ ปัญหาของคุณก็จัดไป...
อย่างไรก็ขอฝากไว้ด้วยกับ i7-5820K ความแรงระดับเริ่มต้นสำหรับ Platform X99 ที่คิดว่าคุ้มค่าเงินที่สุดแล้ว ณ ตอนนี้ ใครที่มองเอาไว้ทำงาน WorkStation ขนาดย่อมหรือ Extreme Gaming ใช้งานแบบยาวๆ หลายปี ผมว่ามันค่อนข้างคุ้มค่าสำหรับการ Upgrade ที่สุดแล้วกับเม็ดเงินที่จ่ายออกไป (Hi-End Platform)