วันศุกร์ที่ 14 พฤศจิกายน พ.ศ. 2557

ตวรจดูชื่อรุ่น CPU ของ Intel Core i Gen 4 [Haswell] ยังไง? เรามีคำตอบ

ตวรจดูชื่อรุ่น CPU ของ Intel Core i Gen 4 [Haswell] ยังไง? เรามีคำตอบ 
ต้องถือว่าเป็นบทความเสริมต้อนรับการมาของซีพียู Intel Core processor 4th Generation สำหรับเครื่องเดสก์ทอปพีซีและโน้ตบุ๊กอย่างเต็มตัว โดยก่อนหน้านี้เราได้เคยพูดกันถึงเทคโนโลยีของตัวซีพียูรุ่นใหม่ภายใต้โค้ตเนม Haswell กันไปบ้างแล้ว แต่เนื่องจากช่วงเวลานั้น ยังมีไลน์ซีพียูมาไม่มาก รวมถึงยังไม่ได้วางตลาดอย่างเต็มตัวในกลุ่มของเดสก์ทอปพีซี ครั้งนี้จึงถือเป็นโอกาสที่ดีในการนำเสนอ เรื่องราวการดูและทำความเข้าใจในข้อมูลจำเพาะ รวมถึงการดูชื่อรุ่นและคุณลักษณะต่างๆ ของซีพียูรุ่นใหม่ล่าสุดนี้
CPU-Z
สิ่งที่เป็นข้อสังเกตได้อย่างชัดเจนสำหรับซีพียู Intel รุ่นใหม่นี้คือ การปรับรหัสนำหน้ามาเป็น Core ix – 4xxx เช่นเดียวกับทุกครั้งที่เปลี่ยนเจเนอเรชัน ไม่ว่าจะเป็น 2xxx หรือ 3xxx ในช่วงที่ผ่านมา ซึ่งหากเดินไปหน้าร้าน แล้วเห็นรหัสด้านหลังรุ่นเป็น 4xxx ก็ให้มั่นใจได้เลยว่าเป็นซีพียู Core i Processor รุ่นใหม่ที่เป็น Haswell อย่างแน่นอน ซึ่งเป็นรูปแบบเดียวกันทั้งเดสก์ทอปและโน้ตบุ๊ก
ตรวจดูรหัสของซีพียู

ตัวอย่างรหัสของซีพียู

Intel Core i7 – 4770 K แยกได้ดังนี้ Core i7 = ซีรีส์ของซีพียู, 4770 = เป็นชื่อรุ่น, K = คุณลักษณะเฉพาะตัว
นอกจากนี้ก็ยังมีส่วนที่ต้องให้ความสำคัญ เมื่อเลือกใช้ซีพียู Intel รุ่นใหม่นี้ ซึ่งเป็นส่วนที่บอกบุคลิกลักษณะของซีพียูในแต่ละรุ่นอย่างได้ชัดเจนยิ่งขึ้น ส่งผลต่อการทำงานโดยตรง สิ่งนั้นคือ รหัสต่อท้ายชื่อรุ่น นั่นเอง โดยมีทั้งในส่วนของซีพียูเดสก์ทอปและซีพียูโน้ตบุ๊ก แต่จะบ่งบอกถึงอะไรบ้างนั้นต้องตามมาดูกัน
Desktop Processor

Desktop Processor

สำหรับซีพียูที่ใช้กับเดสก์ทอปพีซี จะมีการระบุคุณลักษณะของซีพียูอยู่ด้วยกัน 3 รูปแบบ ซึ่งประกอบไปด้วย
K = Unlocked Processor เป็นซีพียูที่ถูกปลดล็อคตัวคูณให้ทำงานได้อิสระ ซึ่งจะตอบโจทย์การโอเวอร์คล็อกปรับความเร็วให้กับซีพียู
S = เป็นซีพียูที่เน้นความคุ้มค่าต่อหน่วยพลังงานที่ใช้ ซึ่งจะสังเกตว่ามีค่า TDP ที่ต่ำกว่าซีพียูรุ่นเดียวกันเล็กน้อย
T = Low Power เป็นซีพียูที่ใช้พลังงานต่ำ โดยมีสัญญาณนาฬิกาและการใช้ค่า TDP ที่ต่ำกว่าปกติ สำหรับพีซีประยัดพลังงาน
Mobile Processor

Mobile Processor

แต่สำหรับโมบายซีพียูสำหรับโน้ตบุ๊กนั้น ก็มีการระบุคุณลักษณะของซีพียูในแต่ละรุ่นด้วยเช่นกัน เพียงแต่ไม่ได้ใช้ตัวอักษรเดียวกับซีพียูเดสก์ทอป แต่ใช้เป็นรหัส 2 ตัวต่อท้ายรุ่นของซีพียูแทน ซึ่งจะประกอบไปด้วย
MQ = เป็นซีพียูรุ่นปกติสำหรับรองรับการใช้งานโดยทั่วไป ทำงานในแบบ 4-Cores/ 8-Threads
HQ = เป็นซีพียูในรุ่นเดียวกับ MQ เพียงแต่เพิ่มเทคโนโลยี Intel® Virtualization Technology for Directed I/O (VT-d) เข้ามา
U = เป็นซีพียูในรุ่นประหยัดพลังงานสูงสุด กินไฟต่ำ ความร้อนน้อย ซึ่งมีค่า TDP ต่ำสุดในบรรดาซีพียูรุ่นเดียวกัน
ทั้งหมดนี้เป็นรายละเอียดการดูซีพียู Intel Core i Processor ในรุ่นล่าสุดอย่าง 4th Generation นี้ ซึ่งก็น่าจะเป็นประโยชน์สำหรับการนำไปใช้พิจารณาเลือกซีพียูให้เหมาะกับความต้องการและการใช้งาน