สวัสดีชาว OCSTATION ทุกท่าน วันนี้พวกเราก็ยินดีอย่างมากที่ได้มีโอกาสได้สัมผัส APU ตัวแรงล่าสุดจากค่าย AMD ในนามของเจ้า "Kavari" จัดถือว่าเป็น Generation ที่ 4 ของ APU นับตั้งแต่เปิดตัวครั้งแรก Generation ที่ 1 กับเจ้า "Llano" 45nm. ต่อมาทาง AMD ก็ได้เปิดตัวก็คือเจ้า "Trinity" 32nm โดยจัดเป็น Generation ที่ 2 และเปิดตัวเจ้า "Richland" 32nm. เป็น Generation ที่ 3
จนมาถึงปัจจุบันก็ได้มีการพัฒนากันอย่างต่อเนื่องสำหรับหน่วยประมวลผล APU (Accelerated Processing Unit) ล่าสุดได้มีการเปิดตัวไปอย่างทางการพร้อมกันทั่วโลกเมื่อวันที่ 14 มกราคม 2014 ผ่านมากับเจ้า APU Codname "Kaveri" ที่มาพร้อมการปรับปรุงครั้งใหม่รวมถึงการลดกระบวนการผลิตจากเดิม 32nm. ลงมาเหลือเพียง 28nm. สำหรับสิ่งที่น่าสนใจสำหรับเจ้า Kavari นี้คือการเพิ่มความแรงของระบบ Graphics ภายในตัวของมัน ด้วยการติดตั้ง Radeon R7 Graphics เข้าไปด้านในที่มี Shader Units มากถึง 512 เลยทีเดียว และยังได้ใช้สถาปัตยกรรมใหม่กับ CPU ในชื่อเรียกว่า "Steamroller" โดยมีการปรับแต่งการทำงานของระบบ Cache ให้มีประสิทธิภาพมากขึ้นกว่าของเดิม ไปชมรายละเอียดในส่วนต่างๆ พร้อมกันเลยดีกว่าครับ
สำหรับ Kaveri นั้นเปิดตัวมาในช่วงแรก 3 Model ด้วยกัน ได้แก่รุ่น A10-7850K ความเร็ว 3.7Ghz/4Ghz ถือเป็นรุ่นสูงสุด และมาพร้อมกับ Radeon R7 Graphics ความเร็ว 720Mhz พร้อมกับจำนวน Shader Units ทั้งหมด 512 ตัว (8GPU Cores) สำหรับรุ่นถัดมาคือ A10-7700K ความเร็ว 3.4Ghz/3.8Ghz มาพร้อมกับ Radeon R7 Graphics ความเร็ว 720Mhz เช่นกันแต่จะถูกลด Shader Units ลงเหลือเพียง 384 ตัว (6 GPU Cores) และสุดท้ายกับเจ้า A8-7600 ความเร็ว 3.3Ghz/3.8Ghz รุ่นนี้ไม่สามารถทำการปรับแต่งตัวคูณแบบอิสระได้เหมือนตระกูล K Series นะครับเน้นใช้งานอย่างเดียวและมี Shader Units เท่ากับ A-10-7700K ครับ โดยวันนี้เราจะขอกล่าวถึงตัว A10-7850K เป็นหลักรวมถึง Feature ต่างๆ ที่เพิ่มเข้ามาสำหรับเจ้า "kaveri"
นอกจากการลดกระบวณการผลิตที่เล็กลงมา เหลือเพียง 28nm. ทาง AMD ยังเคลมเอาไว้ว่าได้ทำการปรับปรุงประสิทธิภาพ Mhz : Mhz ให้สูงขึ้นถึง 10% สำหรับเข้า kaveri หรือหน่วยประมวลผลสถาปัตยกรรม "Steamroller" โดยได้จากภาพด้านบนแสดงให้เห็นถึงการทำงานของระบบในหลายๆ ส่วนให้มีความรวดเร็วและมีประสิทธิภาพที่ดีขึ้น
สำหรับ Feature โดยรวมของเจ้า Kaveri นั้นก็จะมาพร้อมกับ Compute Cores จำนวน 12 core ซึ่งนั่นหมายถึงว่า AMD รับดับหน่วประมวลผลของ APU เองที่ 4 Core และรวมกับหน่วยประมวลผลของ GPU ทั้ง 8 Core รวมกันเท่ากับว่ามีหน่วยประมวลทั้งหมด 4+8 = 12 Compute Cores นั่นเอง นอกจากนี้ยังมีการเปลี่ยนมาใช้ PCI-E 3.0 แล้วด้วยครับ ซึ่ง APU รุ่นเก่านั้นจะรองรับเพีลง PCI-E 2.0 เท่านั้น รวมไปจนถึงการรองรับการดูหนังแบบ Ultra HD หรือ 4K ได้เป็นที่เรียบร้อย และ Feature ใหม่ๆ ที่เข้ามาช่วยการทำงานระหว่าง CPU และ GPU ให้รวดเร็วขึ้นกับ HSA Feature ซึ่งตัว CPU และ GPU นั้นสามารถใช้ข้อมูลร่วมกันได้หากมีข้อมูลใน Cache ที่เหมือนกัน โดยไม่จำเป็นต้องรอหรือ Copy ขึ้นมาใหม่เพื่อประมวลผลเองแบบสมัยก่อน ซึ่งทำให้เกิดความล่าช้า
โครงส้รางภายในตัว Kaveri ที่บอกว่ามีจำนวน 12 Compute Cores (4 CPU + 8 GPU)
ชุดคำสั่ง HSA (Heterogeneous System Architecture) เข้ามาช่วยให้การทำงานของ CPU และ GPU ได้สะดวกขึ้นโดยที่ทั้งสองสามารถใช้ดึงข้อมูลใน Cache ได้ร่วมกันถ้ามีชุดข้อมูลที่เหมือนกัน ฝั่งไหนจะดึงไปใช้ก็สามารถทำได้เลยไม่ต้องรอหรือ Copy ขึ้นมาใน Block ใหม่เพราะเป็นการเสียเวลาในการที่จะรอประมวลผล ดังนั้นถ้ามีข้อมูลใน Block ที่เหมือนกัน CPU หรือ GPU ก็คัดลอกข้อมูลชุดนั้นไปประมวลผลต่อได้ทันที และที่สำคัญ CPU และ GPU ยังสามารถใช้ความจุแรมร่วมกันได้สูงสุดถึง 32GB กันเลยทีเดียว HSA มันดีแบบนี้นี่เอง ซึ่งเมื่อทำงานร่วมกับ hUMA แล้วจะทำให้การจัดการเรื่องระบบ Memory ได้สมบูรณ์แบบยิ่งขึ้นนั่นเอง
ภาพขนาด Die ของ Kaveri ครับโดยทั้ง Die มีขนาดทั้งหมด 245mm2และจำนวนของ Transistor มีทั้งหมด 2.41 พันล้านตัวภายให้ใต้กระบวนการผลิตที่ 28nm.
AMD APU A10-7850K with Radeon R7 Graphics
A10-7850K | A10-7700K | A8-7600 | |
---|---|---|---|
Graphics Level | Radeon R7 | Radeon R7 | Radeon R7 |
TDP | 95 W | 95 W | 65/45 W |
CPU Cores | 4 | 4 | 4 |
CPU Base Clock Rate | 3.7 GHz | 3.4 GHz | 3.3 / 3.1 GHz |
Max. Turbo Core Clock Rate | 4 GHz | 3.8 GHz | 3.8 / 3.3 GHz |
GPU Shaders | 512 | 384 | 384 |
GPU Clock Rate | 720 MHz | 720 MHz | 720 MHz |
"Compute Cores" | 12 | 10 | 10 |
ในเรื่องของระบบ Memory Controller DDR3 หรือ IMC นั้น A10-7850K หรือเจ้า Kaveri นั้นจะรองรับความเร็วแบบ Native แบบ Dual Channel ที่ความเร็ว DDR3 2133 และยังออกแบบมาให้ทำงานร่วมกับ DDR3 2400 ได้อีกด้วย ซึ่งโครงสร้างหลักของระบบ IMC นั้นก็ยังใช้แบบเดียวกับสถาปัตยกรรมเดียวกันของ Bulldozer เพียงแต่ออกแบบปรับปรุงใหม่ให้สามารถทำงานร่วมกับแรมบัสสูงๆ ได้ดีกว่า
A New x86 Architecture "Steamroller"
อย่างที่เราได้แนะนำไว้ข้างต้นว่าทาง AMD ได้ทำการปรับปรุงประสิทธิภาพของสถาปัตยกรรมใหม่นี้ให้มีประสิทธิภาพในการ ประมวลผลที่ดีขึ้นในหลายๆ จุดรวมถึงระบบ Cache ทำให้ประสิทธิภาพดีขึ้น 30% หรือคิดเป็นคนเฉลี่ยของประสิทธิภาพโดยรวมแล้วจะแรงขึ้น 10% ที่ Mhz : Mhz เมื่อเทียบกับสถาปัตยกรรมเก่าอย่าง "Piledriver" ที่เป็นได้ชัดเจนเลยก็คือ L1 Inst (instruction cache) นั้นจากของเดิมบน A10-6800K นั้นจะอยู่ที่ 64k แบบ 2-Way และได้ปรับปรุงให้เป็นแบบ 96k แบบ 3-Way สำหรับ A10-7850K เป็นที่เรียบร้อยครับ ส่วน L2 นั้นปรับปรุงให้ดีขึ้นอีกราว 5-10% ได้ครับ
- L1 Code cache 96KB x2
- L1 Data cache 16KBx4
- L2 Cache 2048KB x2
The GPU inside A-Series "Kaveri"
พื้นที่ส่วนใหญ่ของ Die นั้นเป็นพื้นที่สำหรับ GPU Core ถึงจำนวน 47% เลยทีเดียว AMD Graphic Core Next Architecture หรือที่เรียกว่าสั้นๆ GCN นั่นหมายถึงหน่วยประมวลผลทางด้าน Graphic หรือที่รู้จักในนามของ Graphic Core นั่นล่ะครับ มาดูต่อกันในเรื่องของระบบ Grtaphic ภายในตัวของ A10-7850K กันซึ่งได้บรรจุ GCN เข้าไปทั้งหมด 8 Core แต่ละ Core มี Shader Units อยู่ Core ละ 64 Units รวมทั้งหมด 8 Core เท่ากับว่ามี Shader Units ทั้งหมด 512 ตัวนั่นเอง หากจะเทียบรุ่นกับ Graphic Card แยกแล้วมันก็คือ Radeon HD 7750 นั่นเองครับ ส่วนข้อมูลจากการ record ของ Hardware ที่ใช้จาก STEAM พบว่าการเล่นเกมผ่าน STEAM ส่วนใหญ่แล้วใช้การ์ดจอระดับล่างถึง 35% ซึ่งอยู่ในระดับเดียวกับที่อยู่บน A10-7850K นั่นเอง แสดงว่ากลุ่มตลาดการ์ดจอระดับล่างยังมีผู้ใช้อยู่เป็นจำนวนมากครับ
โครงสร้างภาพในของเจ้า Kaveri ที่แบ่งในส่วนของตัว "Steamroller" x86 และในส่วนของ AMD Readeon Graphics (GCN) Core
Unified Video Decoder & Video Compression Engine
เจ้า Kaveri มี Hardware decoding H.264 และ VC-1 video codec อยู่ในตัวอยู่แล้ว แต่สิ่งที่เพิ่มเข้ามาก็คือ Video codec H265/HEVC (High Efficiency Video Coding) สำหรับเอาไว้ดูหนังความละเอียดระดับ Ultra HD หรือ 4K นั่นเอง และยังสามารถรองรับความละเอียดของคุณภาพได้สูงสุดถึงระดับ 8K (8192x4320) สูงสุดเลยครับนับว่าเป็น Engine ที่เผื่ออนาคตได้ไกลเลยทีเดียว
ยอดเยี่ยมไปเลยที่มีเทคโนโลยี HSA เข้ามาช่วยในการ Encoding และ Decode การดูหนัง HD1080P ธรรมดา Upscale to Ultra HD 4K ให้ราบลื่นและคุณภาพที่สมบูรณ์แบบ นอกจากนั้นยังแสดง Refresh Rate ได้ถึง 60Hz ที่ความละเอียดระดับ 4K ผ่านทาง Dispaly Port 1.2 ได้อีกด้วยครับ
AMD TrueAudio Technology
มาดูสิ่งที่น่าสนใจกับเทคโนโยยีของระบบ เสียงที่สมจริงโดยไม่ต้องรบกวนการทำงานของ CPU เลยเพราะว่าทาง AMD ได้ติดตั้ง DSP เข้าไปไว้ในตัวชิปเพราะจะได้ประมวลผลเสียงแบบ Rail-time ในเกมที่เราเล่นแบบสมจริงมากขึ้น โดยออกแบบมาให้ช่วยลดภาระการประมวลผลทางด้านเสียงของ CPU นั่นเอง แต่ก็ต้องขึ้นอยู่กับตัวเกมที่รองรับ AMD TrueAudio Technology นี้ด้วยเช่นกัน ซึ่งเกมที่รองรับแล้วก็คือ Lichdom, Star Citizen, Murdered และ Thief
จากภาพด้านบน จะแสดงให้เห็นว่าเวลาเราเปิดเกมขึ้นมานั้น CPU จะต้องประมวลผลทางด้านเสียงไปด้วยดังนั้นจะดีกว่าไหมครับถ้ามีการติดตั้ง หน่วยประมวลผลทางด้านเสียงหรือเจ้า DSP เข้าไปในตัวเจ้า Kavari ที่สามารถประมวลผลทางด้านเสียงแบบ Real-Time ในเกมได้โดยตรง และช่วยลดการประมวลผลของ CPU ลงไปราว 10-14% เลยทีเดียว
ความสมบูรณ์แบบของโลกแห่งเกมมิ่ง อนาคตของเหมยุคใหม่ที่มาพร้อมกับ Mantle API ที่ทาง AMD ได้สร้างขึ้นมาเพื่อดึงประสิทธิภาพสูงสุดของ Graphic card และการทำงานร่วมกับ Engine Game ต่างๆ โดยที่ตัวของเจ้า Kaveri เองก็รองรับ Mantle API นี้ด้วยเช่นกันครับ Mantle นั้นจะมีลักษณะเดียวกับ SDK DirectX หรือ OpenGL แต่จะเขียนขึ้นมาใหม่เพื่อให้ GPU และ Engine ของผู้สร้างเกมนั้นสื่อสารกันได้สะดวกขึ้นโดยผ่าน Mantle API แทนที่จะทำงานผ่าน DirectX ซึ่งทาง AMD เองเคลมเอาไว้ว่าทำงานได้รวดเร็วกว่าอย่างแน่นอน
คำถามต่อมาว่าแล้วค่ายเกมไหนเอาด้วยกับ Mantle API ด้วยบ้าง ? ล่าสุดเลยก็คือค่าย EA กับเกม Battlefield 4 ที่ใช้ Engine Frostbite 3 ซึ่งได้พัฒนาตัวเกมมาพร้อมกับ Mantle API ซึ่งที่เล่นกันอยู่ทุกวันนี้คือการเล่นผ่าน DX11 ครับ และตอนนี้ทาง AMD เองก็ปล่อย Driver สำหรับเปิดการทำงานของ Mantle API แล้วใน Version 14.1 Beta สามารถ Download ได้ >>ที่นี่<< สำหรับประสทิธิภาพของมันนั้นทำให้ผลการเล่้นเกม Battlefield 4 นั้นดีขึ้นตั้งแต่ละดับ 15% - 45% สูงสุดกันเลยทีเดียวเมื่อเทียบกับการเล่นบน DirectX 11
นอกจากนี้ค่ายเกมอื่นๆ ก็ยังเอาด้วยกับ Mantle API นะครับ ได้แก่ Cloud Imperium, Eidos-Montréal และ Oxide ก็เอาด้วย โดยเกมที่ออกมารองรับอีกก็น่าจะเป็น Star Citizen และ THIEF สำหรับอนาคตอันใกล้นี้คาดว่า CryEngine และ imagining (Unreal Engine) ก็จะเอาด้วยอีกเช่นกัน
นับว่าเป็นอะไรที่น่าสนใจมากสำหรับ Mantle API ใหม่นี้ เพราะ มันเป็นเรื่องที่ง่ายขึ้นหากจัดการระบบ API ให้ match กับตัว GPU เพื่อการประมวลที่ทรงประสิทธิภาพและรวดเร็ว โดย AMD อ้างว่าจะเขียนภาพได้เร็วกว่า x9 เท่าเมื่อเทียบกว่า API อื่นๆ โดยที่จะช่วยลดภาระการทำงานของตัว CPU ลงไปด้วยเพื่อป้องกันปัญหา CPU Overhead นั่นเอง สำหรับอนาคตของ Mantle API น่าจะสดใสขึ้นอย่างแน่นอน ถ้ามีค่ายเกมดังๆ เริ่มหันมาใช้ Mantle API ครับ
AMD A88X FCH
แน่นอนครับว่าเมนบอร์ดชิปเซท AMD A88X FCH (Bolton D4) นั้นได้เปิดตัวก่อนที่เจ้า Kavari เปิดตัวเสียอีก โดยเมนบอร์ดชิปเซท A88X นี้ยังสามารถใช้งานร่วมกับ APU รุ่นเก่าอย่าง Trinity และ Richland ได้อีกด้วยครับ แต่เจ้า Kavari นั้นไม่สามารถนำกลับไปใส่กับเมนบอร์ดชิปเซท A85X ได้เพราะว่า Socket FM2 นั้นมีขาไม่เท่ากันกับ Socket FM2+ นั่นเอง สำหรับสิ่งที่เข้ามารองรับเจ้า Kavari นั้นแน่นอนว่าช่อง PCI-E นั้นต้องเป็น Version 3.0 ด้วยเช่นกัน และรองรับระบบ AMD A.M.P. ได้ถึง DDR2400 กันเลยทีเดียว จัดเต็มกันจริงๆ สำหรับ APU Generation 4....
อ่อ...เกือบลืมครับเจ้า Kavari ยังรองรับการทำงานแบบ AMD CrossfireX และ AMD Dual Graphics3 อีกด้วยแต่ทาง AMD เองยังไม่ได้ระบุชัดเจนว่า Kaveri นั้นจะ Dual Graphics กับการ์ดรุ่นไหน โดยมีเพียงข่าวลือว่าอาจจะทำได้กับ Radeon R7 250 ซึ่งจากการทดลองของเราแล้วพบว่าสามารถทำการเชื่อมต่อแบบ Dual Graphics กันได้กับ A10-7850K โดยเราจะนำเสนอให้ชมกันแน่นอนในบทความนี้ทีเดียวเลย
"KAVERI" Set By AMD
เอาล่ะครับหลังจากที่เราแนะนำ Feature เด่นๆ ของเจ้า Kaveri และการปรับปรุงโครงสร้างการทำงานของระบบ Cache ให้มีประสิทธิภาพสูงขึ้นแล้ว วันนี้เรามีชุด Kaveri Set จาก AMD + ASUS มาแนะนำและรีวิวให้ชมกันใน สำหรับเมนบอร์ดนั้นเป็นของ ASUS รุ่น A88X-PRO และในส่วนของ Memory DDR3 นั้นก็เป็นของ AMD เองกับความเร็วเดิมๆ จากโรงงานด้วยค่า A.M.P. ที่ DDR2400 CL11-12-12-31 1.65V ความจุรวม 8GB และสุดท้ายกับเจ้า Kaveri A10-7850K ครับ
สำหรับ APU A10-7850K ตัวนี้ก็จะเป็นตัว ES (Engineering Sample) จากทาง AMD โดยรหัสบนกระดองก็จะต่างไปจากตัวขายจริงครับ
AMD RADEON MEMORY DDR3 2400CL11 8GB-Kit
AMD Radeon Memory นี่คือแรมจากทาง AMD ที่ผลิตขึ้นมาพร้อมจำหน่ายแล้วครับ โดย Spec ตามฉลากของแรมคู่นี้คือรหัส "AG34G2401U1S" เป็น Memory DDR3 แบบ Dual Channel จำนวน 2 DIMM แพงละ 4GB รวมเป็นคู่ละ 8GB ความเร็วในการทำงานนั้นอยู่ที่ DDR2400 (1200Mhz) CL 11-12-12-31 1.65V รองรับระบบ A.M.P. (AMD Memory Profile) ซึ่งหลักการทำงานก็เหมือนกับ XMP ของ Intel นั่นล่ะครับ ซึ่งมันจะช่วยให้ผู้ใช้ปรับแต่งค่าความเร็วของ Memory ได้ตาม Spec เพียงแค่เข้าไปเปิดใช้งาน Profile นี้ใน BIOS ก็จะทำให้ระบบตั้งค่าต่างๆ ของแรมทั้งความเร็วและ CL ตาม Spec ที่แรมกำหมดไว้ รวมถึงการปรับแรงดันไฟเลี้ยงให้ด้วย
ดูกันเต็มๆ อีกทีกับ AMD Radeon Memory มาพร้อมกับ Heatspreader สีดำพร้อมลวดลายที่สวยงามดุดันครับ ชอบมากๆ ^^
อีกด้านของแรมครับ ก็จะ Screen ไว้ว่า RADEON' MEMORY GAMER SERIES ดังนั้นใครเป็น GAMER ที่ใช้ AMD อยู่ไม่ควรพลาดรีบเก็บสะสมครับ
ASUS A88X-PRO Motherboard
ชุดเมนบอร์ดสีทองจาก ASUS ในรุ่น A88X-PRO ซึ่งเป็นเมนบอร์ดชิปเซท A88X ที่มาพร้อมกับ Socket FM2+ ออกแบบมาสำหรับทำงานร่วมกับ Kaveri โดยเฉพาะ
ดูกันอีกหนึ่งมุมครับสำหรับเมนบอร์ด ASUS A88X-PRO โดยผลการรีวิวเฉพาะเมนบอร์ดเราจะนำเสนอให้ชมกันแบบเต็มๆ ในบทความต่อไป
AMD APU A10-7580K "Kaveri" & A10-6800K "Richland"
ภาพ APU ทั้ง 2 รุ่นโดยทางด้านซ้ายมือเป็น APU A10-7850K "Kaveri" และทางด้านขวามือเป็น APU A10-6800K "Richland" ครับ
ภาพบริเวณ Pins ขาของ APU ครับ โดยทางด้านซ้ายมือเป็นของ A10-7850K มาพร้อมกับขาทั้งหมด 906 ขา (Socket FM2+) และภาพด้านขวามือเป็นของ A10-6800K มีขาทั้งหมด 904 ขา (Socket FM2)
การต่อใช้งานกับเมนบอร์ดนั้นเจ้า Kaveri หรือจะสามารถใส่ได้กับเมนบอร์ดชิปเซท A88X ที่มี Socket ใหม่ FM2+ เท่านั้น ซึ่งตำแหน่งของขาและ mark จะต่างกันกับ Socket FM2 แต่มีข้อดีอยู่อย่างหนึ่งของ Socket FM2+ โดยเราสามารถนำ APU ที่เป็น Socket FM2 มาใส่บน Socket FM2+ ได้ครับ แต่เจ้า Kaveri ไม่สามารถนำไปใส่กับ Socket FM2 ที่อยู่บนชิปเซท A85X และรุ่นต่ำกว่าได้ครับ
System Pic & Setup
สำหรับการรีวิวและทดสอบเจ้า Kaveri A10-7850K ของเราในครั้งนี้ก็จะทดสอบประสิทธิเปรียบเทียบกันระหว่าง APU เจนเก่าอย่าง A10-6800K ให้ชมกันถึงระสิทธิภาพด้านต่างๆ จาก Benchmark หลากหลายประเภทไม่ว่าจะเป็นทางด้าน Memory, Rendering และ 3D Gaming
แน่นอนครับบทความนี้จัดเต็มทีเดียวเลยกับประสิทธิภาพของระบบ AMD Dual Graphics 3 ถึง AMD จะไม่ได้ระบุใช้เจนว่าให้ต่อใช้งานกับการ์ดรุ่นไหน (ระบุไว้เพียงว่า Radeon R7 Graphics) ผมเดาเลยว่า AMD ต้องให้ Dual Graphic กับ R7 250 และก็ทำได้จริงๆ ครับ แต่น่าเสียดายว่า R7 250 นั้นมี Shader Units น้อยไปนิดเพียง 384 เท่านั้นหาก AMD ย่อมปล่อย R7 250X ออกมา สมมุติว่ามี Shader Units ราวๆ 512-640 ตัวล่ะก็น่าจะแรงระเบิดเลยทีเดียว....
รูปบรรยากาศสำหรับการทดสอบแบบ Dual Graphics ระหว่าง A10-7850K + R7 250 1GB
รูปบรรยากาศสำหรับการทดสอบแบบ Dual Graphic ระหว่าง A10-6800K + HD 6670 1GB
สำหรับผลการทดสอบแรกนั้นเราจะพาท่านไปชมอัตราการบริโภคพลังงานและเรื่องอุณหภูมิการทำงานของเจ้า A10-7850K กันก่อนครับ
SPEC.
CPU | APU A10-7850K APU A10-6800K |
CPU Cooler | APU Stock |
Motherboard | ASUS A88X-PRO BIOS 0802 |
Memory | AMD Radeon Memory DDR2400C11 8GB-Kit |
VGA | - GIGABYTE R7 250 OC 1GB - MSI HD 6670 1GB |
Hrad Drive | WD 320GB x1 OS |
PSU | Thermaltake ToughPower 1350Wattt |
OS | Window 7 SP1 64Bit. |
Display Driver | AMD CCC 13.30 beta Win7/64bit |
ทดสอบให้อุณหภูมิ 28-29c องศาเซลเซียส
อัตราการบริโภคพลังงานของเจ้า A10-7850K เมื่อเทียบ A10-6800K ดูแล้ว พบว่าต่างกันค่อนข้างมากๆ เลยทีเดียวในช่วงที่มีการเล่นเกม 3D เนื่องด้วย A10-7850K นั้นลดกระบวนการผลิตลงมาแล้วที่ 28nm. ส่วน A10-6800K นั้นอยู่ท่ี 32nm. ถ้าดูจากกราฟที่เรานำมาเทียบให้ชมกันแล้วนั้น ขณะ ที่มีการเล่นเกม Battlefield 4 และ Crysis 3 แล้วนั้นพบว่ามีผลต่างในเรื่องของกำลังวัตต์ที่ใช้ราวๆ 70 Watt ได้เลยทีเดียว โดยที่ A10-7850K กินไฟอยู่ในช่วงเล่นเกมประมาณ 131 Watt เท่านั้น ส่วน A10-6800K นั้นกินไฟอยู่ในระดับ 200 Watt เลยทีเดียวครับ นี่ก็เป็นอีกก้าวหนึ่งของ AMD APU ที่ได้รับการพัฒนาประสิทธิภาพพร้อมกับอัตราการบริโภคพลังานที่ต่ำลง
ผลการทดสอบทางด้านอุณหภูมิความร้อนขณะทำงานพบว่า ช่วง IDLE นั้นพบว่ามีอุณภูมิโดยทั่วไปราวๆ 38-41c เซลเซียส และเมื่อ Full Load แล้วอุณหภูมิสูงขึ้นในระดับ 59c เซลเซียสครับ (ดูอุณภูมิจากโปรแกรม ASUS Dual Intelligent Processor 4 Monitor) ก็ถือว่าไม่ร้อนมากครับช่วงที่ LinX เพื่อทดสอบความร้อนผมจับ Heatsink ดูก็ไม่ได้ร้อนอะไรมากมาย และภาคจ่ายไฟของเมนบอร์ดก็ไม่ได้ร้อนมากเช่นกัน ต่างกับการทดสอบกับ A10-6800K เป็นอย่างมาก ที่ร้อนทั้ง Heatsink และภาคจ่ายไฟเลยทีเดียว
System Config
รายละเอียดจากโปรแกรมต่างๆ บน Window ครับ เริ่มจาก APU A10-7850K ก่อนเลยกับความเร็วที่บูทขึ้นมาในระดับ 4Ghz ครับ โดยมีการควบคุมด้วยระบบ AMD Torbo Core 3.0 ซึ่งจะทำงานอยู่ที่ระดับความเร็วพื้นฐานที่ 3.7Ghz - 4Ghz สูงสุด ขึ้นอยู่กับอัตราการควบคุมของ TDP และสภาวะของ Load ในการทำงาน ถ้่ไม่หนักมาก ก็จะวิ่งที่ 4Ghz ตลอดทุกคอร์ครับ แต่หากทำงานหนักและร้อนมากๆ ความเร็วของแต่ละคอร์จะลดความเร็วขึ้นลงเองโดยอัตโนมัติ
ความเร็วของแรมที่ผมตั้งไว้คือในระดับ DDR2400 ตามค่า A.M.P. ของแรมที่มีมาให้ โดย CL อยู่ที่ 11-12-12-31 1T 1.65V ซึ่งเป็นความเร็วที่สูงกว่าค่า Native จริงๆ ของ A10-7850K ที่ DDR2133 ครับ และจากการทดสอบนั้นพบว่าความเร็วแรม DDR2400 บน Kavari นั้นทำได้อย่างๆม่ยากเย็นจริงๆ
ในส่วนของระบบ Graphics นั้นก็จะเป็น AMD Radeon R7 Graphics Codename "Spectre" ผลิตที่กระบวนการ 28nm. เช่นเดียวกับตัว CPU ครับ ส่วนความเร็วของ Core นั้นอยู่ที่ 720Mhz ความเร็วของ Memory นั้นก็จะวิ่งตามความเร็วของ CPU ที่ DDR2400 (1200Mhz) GPU รุ่นนี้พก Shader Units มาทั้งหมด 512 Units และแชร์แรมจากระบบมาเป็นของตัวเองที่ 1GB ครับ
AIDA64 GPGPU Benchmark
ดูผลการทดสอบทางด้าน GPGPU Benchmark จาก AIDA64 กันครับ โดยจะมีผลเทียบให้ชมกันระหว่าง GPU และ CPU ในการคำนวณต่างๆ ของ Benchmark
APU A10-6800K System
ชุดทดสอบของ A10-6800K ที่เราจะมาทำการเปรียบเทียบประสิทธิภาพของเจ้า Kaveri A10-7850K ว่าดีขึ้นในระดับเท่าใด โดยการปรับแต่ง Config ของ A10-6800K นั้นก็จำทดสอบที่ความเร็วเดิมๆ ที่ระดับ 4.1Ghz - 4.4Ghz ตาม Spec ของมันเอง ส่วนแรมนั้นผมก็ปรับตามค่า A.M.P. ที่ DDR2400 (1200Mhz) CL11-12-12-31 1T 1.65V ไว้เช่นเดิมครับจากนั้นเราก็จะทดสอบ Benchmark ต่างๆ แล้วจับเทียบลงกราฟให้ชมกัน
Super Pi
ผลการทดสอบแรกเลยกับการคำนวนณ Super Pi mod 1.5x ที่ระดับ 1Mb. เวลาคำนวณที่เร็วกว่าถือว่าดีกว่าครับ จากผลการทดสอบพบว่า A10-7850K นั้นเร็วกว่า 4.68 วินาทีที่ความเร็วในการคำนวณ 18.096 วินาที ต่อ A10-6800K มราใช้เวลาในการคำนวณที่ 22.780 วินาที เห็นชัดเจนเลยว่า A10-7850K ปรับปรุงประสิทธิภาพ Mhz : Mhz มาได้ดีขึ้น ซึ่งความเร็วของมันอยู่ที่ 4Ghz สูงสุด ส่วน A10-6800K อยู่ที่ระดับ 4.4Ghz ครับ ผลการทดสอบนี้ชัดเจว่า Kaveri แรงจริง
สำหรับผลการทดสอบการคำนวณ Super Pi ที่ 32Mb นั้นใช้เวลาการทดสอบต่างกันถึง 359.388 วินาทีเลยทีเดียวครับ Kaveri "Steamroller" แรงกว่าแบบชัดเจนในเรื่องการทดสอบที่อ่อนไหวของ Super Pi ที่มีต่อระบบ Memory และประสิทธิภาพของแกนประมวลผลรวมถึงประสิทธิภาพของระบบ Cache ที่ทำออกมาได้ดีกว่าแบบชัดเจนเมื่อเทียบกับแกนประมวลผลเดิมอย่าง A10-6800K "Piledriver"
Super Pi Test Detail
AIDA64
AIDA64 Cache & Memory Benchmark Detail
ผลการทดสอบทางด้าน Memory Bandwidth ของ A10-7850K นั้นก็ทำออกมาได้เด่นชัดในเรื่องของ Memory Write และ Copy ส่วนค่า Read นั้นไม่ต่างจากเดิมมากนัก และค่าของ Latency นั้นของ A10-6800K กลับมาผลทดสอบที่ดีกว่าครับ
x264 FHD Benchmark 64bit
ผลการทดสอบของ x264 FHD Benchmark 64bit นั้นก็พบว่าทาง A10-7850K นั้นสร้างเฟรมในการถอดรหัสได้ดีกว่า 1 เฟรมนิดๆ ครับ แต่อย่าลืมว่ามันทำงานที่ Ghz ต่ำกว่านะครับ ตอนนี้ 4Ghz แซง 4.4Ghz ของเดิมไปแล้ว หุหุ...
FryRender x64
สำหรับ FryRender x64 นั้นรู้สึกว่าจะใช้ความเร็วของ Ghz สูงๆ เป็นหลัก พบว่า A10-6800K Render เสร็จเร็วกว่าประมาณ 1 นาทีนิดๆ ครับ
Cinebench R11.5 64bit
มาดูต่อในส่วนของ Cinebench R11.5 64bit กันครับ ที่ xCPU Render นั้นทาง A10-7850K นั้นมีประสิทธิภาพที่ดีกว่านิดๆ
Cinebench R15 64bit
และสำหรับ Cinebench R15 64bit นั้นทาง A10-6800K กลับขึ้นมานำอาจจพเป็นเพราะ Ghz มันสูงกว่านั่นเอง
มาดูกันต่อกับผลการทดสอบทางด้าน ประสิทธิภาพโดยรวมของระบบด้วยโปแกรม Realbench V2.0 Beta ซึ่งคะแนนรวมการทดสอบนั้นทั้งสองทำได้ไม่ต่างกันเลย แต่สิ่งที่เด่นชัดเจน ลองดูที่ผลการทดสอบ Image Editing นั้น A10-7850K ทำได้ดีกว่าชัดเจนครับ
PCMark 07
สำปรับ PCMark 07 นั้นทาง A10-6800K นำอยู่เล็กน้อยครับ ประมาณ 139 แต้ม
มาชมผลการทดสอบ PCMark 8 ตัวใหม่ล่าสุดกันดูบ้างครับ พบว่า A10-7850K นั้นเริ่มแผลงฤทธิ์แล้วครับ โดยผลการทดสอบทั้งในส่วนของ PCMark 8 Home, Creative และ Work นั้นมีผลการทดสอบที่ดีกว่า A10-6800K ทุกรายการแบบชัดเจนเลยทีเดียว เยี่ยมไปเลย
3DMark Fire Strike 1.1
มาชมกันต่อในเรื่องของประสิทธิภาพทาง ด้าน 3D Benchmark กันบ้างกับ 3DMark 2013 ตัวล่าสุด เริ่มจาก 3DMark Fire Stike กันก่อนเลยทาง A10-7850K ก็เป็นผลทำคะแนนได้ดีกว่าชุดเจนครับ เนื่องด้วยระบบ Graphics นั้นมี Engine ที่ดีกว่า
3DMark Cloud Gate
สำหรับ 3DMark Cloud Gate นั้นทาง A10-7850 K ก็เป็นฝ่ายที่ทำคะแนนได้ดีกว่าครับ
3DMark Ice Storm
สำหรับ 3DMark Ice Storm นั้นรู้สึกว่าจะอิงไปทาง Ghz ของ CPU เสียมากกว่าการใช้ GPU ครับ ดังนั้นผลการทดสอบนี้จะเห็นได้ว่า A10-6800K ทำคะแนนได้ดีกว่าเล็กน้อย
สรุปโดยรวมของ 3DMark 2013 ก็พบว่า A10-7850K นั้นก็ยังทำประสิทธิภาพทางด้าน 3D โดยรวมแล้วดีกว่าซึ่งเป็นผลมาจากการเพิ่มพลังการประมว,ผลทางด้าน Graphics ด้วยการอัดแน่นด้วย GCN ถึง 8 Core ที่มี Shader Units มากถึง 512Units ซึ่งภายในตัวของ A10-6800K นั้นระบบ GPU มีอยู่เพียง 384 Units เท่านั้นครับ
3DMark 11
สำหรับ 3DMark 11 นั้น A10-7850K นั้นทำได้ดีกว่าแบบชัดเจนเลยทีเดียวครับ ห่างกันถึง 421 แต้มเลยทีเดียว
3DMark Vantage
และเช่นกันกับ 3DMark Vantage ที่ทาง A10-7850K นั้นมีประสิทธิภาพในการทดสอบที่ดีกว่าแบบชัดเจน ด้วยคะแนนต่างกันถึง 1994 แต้มครับ
สรุปผลการ Benchmark ของ 3DMark 11 และ 3DMark Vantage แล้วทาง A10-7850K นั้นมีประสิทธิภาพที่ดีกว่าของเดิมอย่างชัดเจนอีกเช่นเคยครับ ก็นับว่าเป็น APU รุ่นใหม่ที่มีประสิทธิภาพเพิ่มขึ้นและดูน่าสนใจดีครับ ต่อไปเราจะไปชมผลการทดสอบในการเล่นเกมต่างๆ กันต่อว่ามีประสิทธิภาพต่างจากของเดิมสักเท่าไรไปชมกัน
Battlefield 4 720p
มาดูผลการทดสอบเกมแรกกันเลยกับเกมยอด ฮิตอย่าง Battlefield 4 เริ่มกันที่ความละเอียด 1280x720p พบว่าประสิทธิภาของ IGP รุ่นใหม่ของ A10-7850K นั้นมีประสิทธิภาพในการสร้างเฟรมเรทในการเล่นเกมได้ดีกว่า A10-6800K อย่างเห็นได้ชัดเจนว่าค่าเฉลี่ยของเหรมเรทดีกว่าถึง 10 fps+ เลยทีเดียว
Battlefield 4 720p Details
รายละเอียดเสริมสำหรับการทดสอบที่ 720p โดยจะมีผลทั้งค่า Min, VGA และ Max Frames Rate ให้ชมกันในแต่ละ Details ของระบบ Graphics เกมที่เราทดสอบมาให้ชมในระดับ Low, Medium, High และ Ultra โดยสำหรับความละเอียดที่ 720p แล้วผมมองว่าที่ความรายละเอียดเกมระดับ Medium กำลังเหมาะครับ
Battlefield 4 1080p
ผลการทดสอบระดับ 1080p นั้นก็บอกได้เลยว่า A10-7850K นั้นก็ยังพอรับไหวที่รายละเอียดเกมระดับ Low + 1080p ซึ่งสร้างค่าเฟรมเฉลี่ยได้ถึง 30 fps. นับว่าไม่ธรรมดาครับ เมื่อเทียบกับ A10-6800K แล้วทำเฟรมเฉลี่ยได้เพียง 23 fps. เท่านั้น ส่วนรายละเอียดของเกมระดับ Medium นั้น A10-7850K ก็ยังสร้างเฟรมเฉลี่ยได้มากถึง 25 fps ก็ยังถือว่ายอดเยี่ยมมากแล้วสำหรับ IGP ตัวใหม่ ^O^
Battlefield 4 1080p Details
รายละเอียดของการทดสอบ BF4 1080p ของรายละเอียดเกมทั้ง 4 ระดับ โดยการการทดสอบโดยรวมแล้ว เจ้า kaveri A10-7850K นั้นเล่นเกมนี้ได้อย่างแน่นอนครับ สบายๆ ยิ่งที่ความละเอียด 720p แล้วลื่นหัวแตกกันเลยทีเดียว ถึงจะไม่ได้แรงอะไรเวอร์ๆ แต่ถ้าเทียบกับ IGP ของเก่าและของคู่แข่งแล้ว นี่คือเทพแห่ง IGP ครับ
Crysis 3 720p
มาดูกันต่อกับเกมแห่งปีอย่าง Crysis 3 ที่มี Engine เกมที่ยิ่งใหญ่และกินทรัพยากรณ์มากที่สุดของระบบ Graphics เกมหนึ่ง มาดูที่ความละเอียด 1280x720p กันครับ จากการทดสอบพบว่า A10-7850K นั้นทำเฟรมเรทได้ดีกว่าประมาณ 3 - 4 fps. เฉลี่ยครับถึงจะดูไม่มากสำหรับเกมนี้ แต่ก็ดูลื่นขึ้นเมื่อเทียบกันระหว่าง A10-7850K และ A10-6800K ที่ความรู้สึกจากการเล่นเกมนั้นให้ความรู้สึกที่ลื่นกว่าระดับหนึ่งจากการ ลองเล่น
Crysis 3 720p Details
รายละเอียดเพิ่มเติมครับ ถ้าจะเอาลื่นสำหรับเกมนี้ผมว่าปรับ Low ไปเลยครับ ^^
Crysis 3 1080p
สำหรับการทดสอบที่ความละเอียด 1920x1080p กับเกม Crysis3 นั้นบอกได้เลยว่าหินสุดๆ สำหรับ IGP ดูจากการทดสอบพบว่าทั้งสองรุ่นทำค่าเฉลี่ยได้แทบไม่ต่างกันเลยที่ 21 fps. เอาไว้ไปชมผลการทดสอบแบบ Dual Graphics ดูกันครับว่าจะแรงขึ้นระดับไหน อิอิ
Tomb Raider 2013 Benchmark 1080p
สำหรับผลการทดสอบจาก Bemchmark เกม Tomb Raider 2013 นั้นเราทกสอบให้ชมกันที่ความละเอียดหน้าจอ 1920x1080p กันไปเลยนะครับ ด้วยรายละเอียดของเกมตั้งไว้ที่ระดับ Low ซึ่งพบว่าค่าเฉลี่ยของเฟรมที่ได้มานั้นไม่ได้ต่างกันมากนักสำหรับ A10-7850K และ A10-6800K ครับ
Dirt 3 Benchamrk 1080p
สำหรับ Dirt 3 นั้นผลการทดสอบที่ 1920x1080p พบว่า A10-7850K แรงกว่าราวๆ 4-5 fps. ได้ครับ
Dirt 3 1080p Benchmark Details
GRID 2 Benchmark 1080p
สำหรับเกม GRID 2 นั้นก็พบว่ามีประสิทธิภาพที่น่าสนใจเล่นกันคระบ โดยให้ผลการทดสอบที่ดีขึ้นจาก A10-6800K ที่ระดับ 7-8 fps. กันเลยทีเดียวครับ ในระดับความละเอียด Medium และ Low Quality
GRID 2 Benchmark 1080p Details
สรุปผลการเล่นเกมโดยรวมของประสิทธิภาพการทดสอบของระบบ IGP บนตัว A10-7850K เมื่อเทียบกับ A10-6800K แล้วพบว่าโดยเฉลี่ยแล้วแต่ละเกมที่เราทดสอบมามีเหรมเรทที่ดีขึ้นจากเดิมราวๆ 5-10 fps. ซึ่งก็นับว่ามากพอที่จะเล่นเกมให้ไหลลื่นจากเดิมระดับหนึ่งเลยทีเดียว โดยผลการทดสอบทั้งหมดนี้ก็น่าจะแสดงให้ทุกท่านเห็นแล้วว่าประสิทธิภาพ IGP ของ A10-7850K นั้นทำการบ้านมาได้ดีมากเลยทีเดียวและยังใช้อัตราการบริโภคพลังงานที่ต่ำ กว่าถึง 70 Watt ขณะเล่นเกมอีกด้วยครับ สำหรับผลการทดสอบของเรายังไม่จบเพียงเท่านี้ ยังมีประสิทธิภาพของระบบ Graphics ที่ทดสอบด้วยระบบ AMD Dual Graphics เทียบกันให้ชมอีกครั้งระหว่าง A10-7850K with Radeon R7 250 กับ A10-6800K with HD 6670 ไปชมกันครับ
AMD Dual Graphics Performance test
มาประสิทธิภาพสูงสุดของระบบ Graphics บน APU Platform กันต่อเลยครับ วันนี้เราจัดเต็มให้ชมถึงประสิทธิภาพของเจ้า kaveri A10-7850K แบบเต็มสูบกันในบทความเดียวเลย สำหรับรายละเอียดของการทดสอบนั้นเราจะจับคู่กันดังนี้ A10-7850K + R7 250 1GB : Core/Mem @ 1100/1150Mhz และ A10-6800K + HD 6670 1GB : Core/Mem @ 800/1000Mhz เพื่อไม่ให้เป็นการเสียเวลาไปชมผลการทดสอบกันเลยครับ
Battlefield 4 1080p Dual Graphics Performance
มาชมผลการทดสอบความแรงในแบบฉบับของ AMD Dual Graphics ของ Platform เก่าและใหม่กันครับ กราฟแท่งสีส้มเป็นตัวแทนของ A10-6800K + HD6670 ส่วนกราฟสีเขียวเป็นตัวแทนของ A10-7850K + R7 250 ดูที่ผลการทดสอบที่รายละเอียดเกมแบบ Medium แล้วพลังแรงมากๆ คระบ โดยชุดของ A10-7850K นั้นทำประสิทธิภาพเพิ่มขึ้นมากว่าทาง A10-6800K มากถึง 20.28 fps. กันเลยทีเดียวครับ ยิ่งที่ความละเอียดต่ำ Low ยิ่งเห็นผลแบบชัดเจนโดยนำห่างถึง 25.03 fps กันเลยทีเดียว นับว่าเป็นประสิทธิภาพที่ดีสำหรับการทำงานร่วมกันของ IGP และ Discrete Gaphics ที่ทำให้เห็นผลต่างแบบชัดเจนมากๆ
Battlefield 4 1080p Dual Graphics Performance Details
ผลการทดสอบนี้จะเป็นการทดสอบระหว่างก่อนและหลังทำการ Dual Graphics ครับพบว่าที่ความละเอียด 1920x1080 + Medium Quality นั้นมีผลการทดสอบของเฟรมเฉลี่ยเพิ่มขึ้นมาถึง 27.05 fps. ไม่ธรรมดาจริงๆ ครับ แถมเฟรม Time ก็ดีมากๆ ภาพไม่หน่วงจากการที่ลองเล่นดู และจะเริ่มดูหน่วงๆ ตั้งแต่ระดับ High - Ultra ดังนั้นระดับที่เล่นได้ดีและอยากแนะนำคือที่ 1080p + Medium Quality หรือจะไปปรับแต่งแบบ Custom Quality กันเองก็ได้ เชิญตามสะดวก อิอิ แต่ที่แน่ๆ ประสิทธิภาพแรงขึ้นแบบเห็นได้ชัดเจนจริงๆCrysis 3 1080p Dual Graphics Perfermance
เกมต่อมากับระบบ Dual Graphics ที่ความละเอียด 1920x1080p + Low Quality +FXAA ผลการทดสอบที่ออกมา พบว่าเล่นได้อย่างไหลลื่นกันเลยทีเดียว สำหรับ A10-7850K + R7 250 ที่เฟรมเฉลี่ยระดับ 49.87 fps. ส่วน A10-6800K + HD6670 นั้นทำได้ที่ 36.04 fps. ต่างกันอยู่ประมาณ 13.83 fps. ก็ถือว่าต่างกันมากพอสมควรสำหรับเกมนี้
Crysis 3 1080p Dual Graphics Perfermance @ Medium Quality
แถมให้อีกนิดสำหรับความละเอียด 1920x1080p + Medium Quality พบว่า A10-7850K + R7 250 นั้นยังทำเฟรมเรทเฉลี่ยออกมาได้มากถึงระดับ 35.17 fps. ก็ถือว่าเยอะแล้วสำหรับระบบ Graphics ที่ไม่ได้แรงมากมาย ส่วน A10-6800K + HD 6670 นั้นทำได้ต่ำกว่า 25 fps. ครับ ต่างกันอยู่ 10.27 fps.
Tomb Raider 2013 Benchmark 1080p Dual Graphics Performance
ต่อมากับเกม Tomb Raider 2013 Benchmark ดูกันที่รายละเอียดเกมตั้งแต่ช่วง Low จนถึง High Quality นั้นเฟรมเรทของ A10-7850K + R7 250 นั้นจะทำได้ดีกว่า A10-6800K + HD6670 อยู่ประมาณ 10 fps. นิดๆ โดยประมาณครับ ถือว่าเล่นความละเอียดระดับ 1080p + High Quality พอไหวครับ
Dirt 3 1080p Dual Graphics Performance
ผลการทดสอบของเกม Dirt 3 ในตำนานเกมแข่งรถอีกหนึ่งเกมผลการทดสอบเทียบดูกันแล้วที่ความละเอียด 1080p พร้อมกับ Quality ระดับต่างๆ พบว่าไม่ต่างกันมากนักสำหรับทั้งสองรุ่น แต่มาดูในช่วงรายละเอียด 1080p + Very High (จริงๆ แล้วในเกมคือระดับ Ultra นะครับผมพิมพ์ผิด ขออภัยมา ณ ที่นี้ด้วย) พบว่า A10-7850K + R7 250 นั้นรั้งเฟรมเรทไว้ได้มากกว่า A10-6800 + HD6670 ได้ถึงระดับ 10.23 fps เพิ่มขึ้นเกือบเท่าตัวเลยทีเดียว
Dirt 3 1080p Dual Graphics Performance Details
รายละเอียดของเกม Dirt 3 กับเฟรมเรทของตัวเกมในรายละเอียดต่างๆ Minimum และ Average FPS. ครับ
GRID 2 1080p Benchmark Dual Graphics Performance
เกมทดสอบสุดท้ายของเราในครั้งนี้ก็คือเกม GRID 2 อีกหนึ่งเกมจากค่าย CodeMaster ค่ายเดียวกันกับ Dirt 3 นั่นล่ะครับ ทดสอบที่ความละเอียด 1920x1080p กับรายละเอียดของตัวเกมในระดับต่างๆ พบว่าเห็นผลชัดเจนเมื่อเทียบกันระหว่างก่อนต่อ Dual Graphics และหลังจากเปิดใช้งาน โดยทั้งสองรุ่นต่างกันไม่มากนัก โดย A10-7850K + R7 250 จะเห็นผลชัดเจนเลยก็ที่ระดับความละเอียดเกมสูงสุดที่ 1080p + Ultra Quality ที่ยังมีเฟรมเรทเฉลี่ยที่สูงระดับ 39.06 fps. เลยทีเดียว ส้วน A10-6800K +HD 6670 นั้นตกลงไปที่ระดับ 25.15 fps. เท่านั้นครับ สรุปได้ว่า A10-7850K + R2 250 ในระบบ Dual Graphics แล้วผลการทดสอบทุกๆ เกมทดสอบของเราในครั้งนี้มีประสิทธิภาพเพิ่มขึ้นที่น่าสนใจมากๆ และขอชื่นชมสำหรับความแรงที่เพิ่มขึ้นของเจ้า Kaveri ที่ไม่ธรรมดาอย่างที่เราได้เห็นกันในแต่ละเกม
GRID 2 1080p Benchmark Dual Graphics Performance Dertails
ทิ้งท้ายกับผลการทดสอบของ GRID 2 ของเฟรมเรท Minium, Average และ Maximum FPS. ในแต่ Setting ของเกมครับ สำหรับเกมนี้ถ้าเอาลื่นๆ เลยแนะนำเล่นได้ระดับ 1080p + Medium ครับ
Conclusion.
เป็นอย่างไรกันบ้างครับสำหรับการเปิดตัวของ AMD "Kaveri" จากทีมงาน OCSTATION จากการทดสอบของเราแล้วพบว่าประสิทธิภาพของเจ้า Kaveri A10-7850K นั้นเพิ่มขึ้นจาก A10-6800K ในหลายๆ การทดสอบ มีแค่บางการทดสอบเกี่ยวกับการ Render งานที่ต้องการพลังการประมวลผล (Ghz) เป็นหลักจึงผลการทดสอบบางจุดที่ทาง A10-6800K ยังนำอยู่บ้าง แต่ก็ไม่มากมายอะไร เพราะอย่างที่ทราบกันว่าเจ้า Kaveri ที่เป็นสถาปัตยกรรม "Steamroller" ได้ปรับแต่งในส่วนของระบบ Cache ให้ดีขึ้น ซึ่งหากเทียบประสิทธิภาพ Mhz : Mhz แล้วทาง AMD บอกว่าจะสูงขึ้นจากสถาปัตยกรรมเดิมอย่าง "Piledriver" ที่ใช้อยู่บน A10-6800K และ FX Series ประมาณ 10% เลยทีเดียว โดยผลการทดสอบบางอย่างก็ทำให้เห็นชัดเจนว่าทำงานได้รวดเร็วขึ้นทั้งๆ ที่มันวิ่งแค่ 3.7Ghz - 4Ghz เท่านั้น... เมื่อเทียบกับ A10-6800K ที่มีความเร็วสูงกว่าในระดับ 4.1Ghz - 4.4Ghz สรุปแล้วประสิทธิภาพ Mhz : Mhz ดีขึ้นเยอะพอสมควร นอกจากนี้ยังมีระบบ HSA +hUMA ช่วยในเรื่องของการออกแบบและจัดการทางด้าน Memory ของระบบ รวมถึงการทำงานร่วมกันและ CPU + GPU ที่สามารถใช้ข้อมูลใน Cache ร่วมกันได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยหากมีชุดข้อมูลที่เหมือนกันก็ไม่ต้องรอหรือสร้างชุดข้อมูลของตัวเองขึ้น มาใหม่ ซึ่งเป็นปัญหาที่ทำให้เกิดความล่าช้าและการรอคิวในการประมวลผลของ CPU และตัว GPU ก็นับว่าเจ้า Kaveri เป็นสถาปัยกรรมแรกของ AMD ที่ได้ใช้ HSA เป็นครั้งแรก
ในส่วนของในส่วนของระบบ Graphics ภายในตัวเจ้า A10-7850K หรือที่เรียกว่า AMD Radeon R7 ความแรงของมันนั้นมี Spec เดียวกับ Radeon HD 7750 (512Unit) นั่นเองถ้าจะเปรียบเทียบให้ดูแบบง่ายๆ ซึ่งผลการทดสอบทางด้าน 3D Benchmark และ Gaming นั้นย่อมแรกงว่าของเดิมอย่างแน่นอน โดยเฟรมเรทเฉลี่ยของการเล่นเกมแต่ละเกมนั้นอยู่ในช่วง 5 - 10 fps เฉลี่ยแทบทุกเกม เมื่อเทียบกับของ A10-6800K ที่มี HD8670D (384Units) อยู่ภายใน
และเมื่อเปิดการทำงานของระบบ AMD Dual Graphics แล้วบอกได้เลยว่าประสิทธิภาพของ A10-7850K ที่รวมพลังการประมวลผลกับ Radeon R7 250 นั้นมีผลการทดสอบออกมาที่น่าประทับใจมากๆ บางเกมที่ความละเอียด 1080p + Medium Qualiy นั้นสร้างเฟรมเรทเฉลี่ยได้มากกว่า Platform เก่าถึง 20 fps. + กันเลยทีเดียว นับว่าเป็นมุมมองของการ Upgrade ระบบ Graphics เพิ่มในภายหลังที่น่าสนใจมากๆ ครับ
อัตราการบริโภคพลังงานก็เป็นอีกหนึ่งสิ่งที่ทาง AMD ได้พัฒนาไปพร้อมๆ กับการเพิ่มประสิทธิภาพของตัว APU ซึ่งเป็นผลพวงมาจาการลดระดับของกระบวนการผลิตจาก 32nm. ลงมาที่ระดับ 28nm. ซึ่งนอกจากจจะทำให้มีพื้นที่ของ Die เพิ่มขึ้นแล้ว ยังช่วยให้ Porcessor ประหยัดพลังงานลงได้อีกด้วย และที่สำคัญเราจะเห็นได้ว่าพื้นที่มากกว่า 47% บน Die ของ A10-7850K นั้นมากไปด้วยแกนประมวลผลของ Graphic Cores บ่องบอกได้ชัดเจนว่านี่คือ APU (Accelerated Processing Unit) ที่สมบูรณ์แบบขึ้นเรื่อยๆ และนี่คือการรวมเอา CPU + GPU +Chipset ไว้ภายในชิปเดียวกันที่ประสบความสำเร็จอีกหนึ่งก้าวของ AMD ที่ผลิต APU ใน Generation ที่ 4 หรือเจ้า "Kaveri" ที่เราคุ้นหูและรอคอยกัน
จากนี้ไปคิดว่าตลาดระดับ Low-End ของเครื่อง Desktop AMD น่าจะกลับมาคึกคักกันอีกครั้งในรอบหลายๆ ปีครับ ทั้งนี้ก็ขึ้นอยู่กับราคาขายของตัว kaveri ด้วยว่าที่ขายในบ้านเรานั้นคุ้มที่จะซื้อใหม่หรือไม่ โดยราคาขายเมืองนอกอยู่ที่ประมาณ 5800.- บาท (ไม่รวมค่าส่งและภาษี) ส่วนราคาขายในบ้านเราที่เปิดตัวไปได้ไม่กี่วันนี้ เริ่มต้นที่ระดับ 6600.- บาทถึง 6,890.- บาทสำหรับ A10-7850K ส่วน A10-7700K นั้นจะขายอยู่ที่ประมาณ 6,090.- บาทครับ ก็ลองชั่งใจกันดูสำหรับสาวก AMD ว่าคุ้มที่จะ Upgrade มาหรือไม่ ? มุมมองของตัวผู้เขียนเองมองได้ 2 แง่ครับ ถ้าสำหรับผู้ที่ใช้ APU รุ่นแรกๆ ในตระกูล Llano ถ้าอยากจะ Update หรือซื้อเครื่องใหม่นั้นคิดว่าประสิทธิภาพต่อความคุ้มค่า น่าจะดูเหมาะสมที่สุด แต่สำหรับผู้ที่มี Trinity หรือ Richland อยู่แล้ว และยังใช้เมนบอร์ด A85X อยู่ด้วยแล้ว การเพิ่มเงินเพื่อมาซื้อ APU + Mobo อาจจะดูไม่คุ้มค่านักเพราะต้องจ่ายเงินมากกว่า 8,000 - 9,000 บาท เพื่อซื้อ Kaveri + A88X Mobo ซึ่งหลายๆ คนอาจจะมองว่าเอางบชิ้นนี้ไปซื้อ Graphic Card แรงๆ อย่าง R9 270X ดูจะคุ้มค่ากว่าสำหรับประสิทธิภาพของระบบ Graphics ตรงนี้ก็น่าคิดเมือนกันนะ ถ้าไปซื้อ R9 270X มาเล่นเกมยังไงก็แรงกว่า A10-7850K + A88X Mobo ใหม่เสียอีก อันนี้ก็ลองไปชั่งน้ำหนักกันดูเองนะครับ (มุมมองในแง่ของการเล่นเกมเป็นหลัก) สำหรับคนที่อยากลองของใหม่ก็จัดไปเลยอย่ารอช้า เพราะแรงขึ้นกว่าของเดิมแน่นอน ! อย่างไรก็ขอฝากเจ้า Kaveri A10-7850K ตัวนี้ไว้ให้สาวก AMD หรือผู้ที่กำลังหันมาสนใจ APU Platform ไว้พิจารณาด้วย สวัสดีครับ...