Intel Core i7-4770K (Haswell) Processor Review
ช่วงนี้เรายินดีต้อนรับท่านเข้าสู่บทความรีวิวการทดสอบสุดยอด Processor จากค่าย Intel ตัวล่าสุดใน 4th Generation Intel Core i7 หรือ Code Name "Haswell" ที่มีกระบวนการผลิตที่ 22nm. แบบ Tri-Gate เช่นเดียวกับ CPU Model ก่อนหน้านี้คือเจ้า Ivy Bridge นั่นเอง สำหรับการเปิดตัวใหม่ของ CPU Processor ของ Intel ใหม่นี้เราก็มีรุ่น Core i7-4770K ซึ่งถือว่าเป็นตัว Top Line และเป็นตัว Unlock สำหรับปรับแต่ค่าการ Overclock ได้แบบอิสระได้เช่นเดียวกับ CPU Model เก่าอย่าง i7-2600K หรือ i7-3770K นั่นล่ะครับ สังเกตุง่ายๆ ว่ารหัส K ต่อท้ายรุ่น CPU คือมีไว้ Overclock นั่นเอง
เอาล่ะครับสำหรับการเริ่มต้นรีวิวบทความ CPU ใหม่ของ Intel หรือเจ้า Haswell นั้นผมจะพยายามนำเสนอให้ชมกันแบบเข้าใจง่ายๆ ไม่เจาะอะไรให้ลึกซึ้งมากนัก โดยจะเน้นไปที่ว่ามีอะไรเพิ่มใหม่ ? จุดที่แตกต่างกันแบบชัดเจนคือโครงสร้างส่วนไหนบ้าง
เริ่มจากการเดินทางสู่อนาคตของการผลิต Processor ของ Intel ที่เรียกว่า Tick/Tock ติ๊ก-ต๊อกๆๆๆ เดินทางมาจนถึงปัจจุบันที่ Tick กับเจ้า Ivy Bridge ที่มีจุดเปลี่ยนแแปลงที่สำคัญมาก นั่นคือการเปลี่ยน Transistor จากเดิมไปสู่แบบ Tri-Gate ที่กระบวนการผลิตที่ลดลงเหลือเพียง 22nm. ซึ่งก่อนหน้านี้เจ้า Sandy Bridge นั้นมีกระบวนการผลิตที่ 32nm. นั่นเอง และสำหรับช่วง Tock นั้นจะเป็นการมาของจ้า Code name "Haswell" ที่ยังคงผลิตด้วยกระบวนการ 22nm. เช่นเดียวกับ Ivy Bridge แต่สิ่งที่เพิ่มเติมเสริมแต่งเข้ามานั้น เราค่อยๆ มาทำความรู้จักกันครับ
รูป CPU Intel Core i7 Series ครับ โดยสิ่งที่แตกต่างไปจาก Ivy Bridge นั่นก็คือการออกแบบ Socket ใหม่จากเดิมมี 1155 ขา ใน Haswell นั้นจะลดลงเหลือเพียง 1150 เท่านั้น ซึ่งแน่นอนว่ามันไม่สามารถจับลงไปใส่กับเมนบอร์ดที่เป็น Socket LGA 1155 ได้อีกต่อไป ถึงแม้จะมีขนาดของ CPU ที่เท่ากันก็ตามแต่ Intel ได้ทำ Mark หรือร่องบากบริเวณ CPU และ Socket ที่ไม่ใช่ต่ำแหน่งเดิมใน LGA 1155 เลยครับ
สังเกตุได้ง่ายๆ เลยว่า i7-4770K นั้นไม่สามารถใส่กับเมนบอร์ด LGA 1155 ได้อีกต่อไป ดังนั้นเราจำเป็นต้องหาคู่หูใหม่ของ Haswell ด้วยเมนบอร์ดที่มากับชิปเซทใหม่ Intel Z87 Chipset นั่นเอง โดยเมนบอร์ดจะเป็น Socket LGA 1150 นั่งเอง ซึ่งเราจะพูดถึงชิปเซทใหม่ในอีกช่วงของบทความ จากภาพสังเกตะได้ง่ายๆ เลยว่า เมื่อเอาไปใส่กับเมนบอร์ดรุ่นเก่า จะไม่สามารถใส่ลงไปได้ เพราะร่องบากไม่ตรงกันนั่นเอง...
แนะนำ Logo ใหม่ของ 4th Generation Intel Core i7 อย่างเป็นทางการครับ
เข้ามาดูต่อในส่วนความเปลี่ยนแปลงของโครงสร้างภายในของ Haswell กันครับ โดยภาพด้านบนนี้แสดงให้เห็นถึงขนาดของ Die Size ขนาด 177mm2 โดยมี Transistor มากถึง 1.4 ล้านๆ ตัวเลยทีเดียวและอีกสิ่งที่เปลี่ยนแปลงไปอย่างชัดเจนในคือ IGP กราฟิกประมวลผลใหม่ HD4600 ที่มีความแรงกว่าของเก่าถึง 1 เท่าตัวเลยทีเดียว ซึ่งเราจะขอนำเสนอผลการทดสอบและรายละเอียดของ HD4600 นี้แยกออกจากบทความ โดยจะทดสอบให้ชมกันภายหลัง ช่วงนี้เราจะเน้นมาทำความรู้จักกับแกนประมวลผลใหม่นี้ก่อนครับ
CPU Name | Sandy Bridge-E | Sandy Bridge | Ivy Bridge | Haswell |
Processor | i7-3820 | i7-2600K | i7-3770K | i7-4770K |
Technology | 32nm. | 32nm. | 22nm. | 22nm. |
Cores / Threads | 4/8 | 4/8 | 4/8 | 4/8 |
Frequency | 3.6 Ghz | 3.4Ghz | 3.5 Ghz | 3.5 Ghz |
Max Turbo | 3.8 Ghz | 3.8Ghz | 3.9 Ghz | 3.9 Ghz |
Memory | Quad Channel | Dual Channel | Dual Channel | Dual Channel |
DDR3 Speed | 1333/1600 MHz | 1333/1600Mhz | 1333/1600 MHz | 1333/1600 MHz |
L3 Cache | 10MB | 8MB | 8MB | 8MB |
Intel HD Graphics | - | 2000 | 4000 | 4600 |
GPU Max freq | - | Up to 1350Mhz | up to 1250 MHz | up to 1250 MHz |
Hyper-Threading | Yes | Yes | Yes | Yes |
CPU Socket | LGA 2011 | LGA 1155 | LGA 1155 | LGA 1150 |
TDP | 130Watt | 95Watt | 77Watt | 84Watt |
AVX Extension | AVX | AVX | AVX | AVX2 |
Price | 9700.- บาท | 10,500.- บาท | 10,700.- บาท | 11,250.- บาท |
Intel ได้ทำการติดตั้งชุดคำสั่ง AVX ใหม่หรือที่เรียกว่า Intel AVX2 (256b) ที่มาพร้อมกับการเพิ่ม Bandwidth Cache และ L1 เป็น 96byte/Clock (64Read/32Write) ซึ่งมากว่า Sandybridge ที่มีอยู่เพียง 48Byte/Clock และสำหรับชุดคำสั่ง FMA นั้นก็จะเบิ้ลเป็น x2 FMA ต่อหนึ่งคอร์
อีกหนึ่งจุดที่เรียกว่ามีการเปลี่ยนแปลงอย่างแน่นอนคือการทำงานของระบบ Cache L1 และ L2 โดยที่ชุด Cache L1 นั้นเพิ่มความเร็วในการส่งข้อมูลในส่วนของ Load bandwidth และ Store bandwidth จากเดิมบน Sandy และ Ivy จะอยู่ที่ 32/16Byte ต่อหนึ่ง Cycle เป็น 64/32Byte ต่อ cycle เลยทีเดียว นับว่าส่งข้อมูลต่อรอบสัญญาณนาฬิกาได้หนึ่งเท่าตัว รวมถึงระบบ Cache L2 ที่มีการปรับปรุงเช่นกัน โดยในส่วนของ L2 Bandwidht to L1 เพิ่มจากของเดิม 32Byte/cycle เป็น 64 Byte/cycle และชุด L2 Unfied TLB จากเดิมแบบ 4K:512, 4- Way เป็น 4K+2M shared:1024, 8-way โดยทั้งหมดนี้ดูเหมือนจะเป็นส่วนที่ได้รับการแก้ไขในส่วนของระบบ Cache L1 และ L2 สำหรับ Haswell ที่ได้เพิ่มเข้ามา
อีกอย่างที่น่าสนใจสำหรับ Haswell คือการโยกย้ายชุด Voltage Regulator หรือที่ Intel เรียกว่า FIVR (Fully Intergrated Voltage Regulator) ซึ่ง Product Baseline ในปี 2012 นั้นยังคงมีชุดภาคจ่ายไฟหลายๆ ส่วนอยู่ภายนอก Die CPU แต่สำหรับ Haswell นั้นได้ย้ายเข้าไปรวมไว้ใน Die เป็นที่เรียบร้อย กลายเป็นว่ามีเพียงจุดจ่ายไฟ input VR เหลือเพียงชุดเดียวเท่านั้น
ดังนั้นการปรับแต่งค่าไฟเลี้ยงสำหรับ เพิ่มประสิทธิภาพให้กับ Haswell นั้นอาจจะมีไฟเลี้ยงบางจุดที่ต้องทำความรู้จักกันใหม่ อย่างเช่น VCCIN, VRING เป็นต้น ไว้เราจะนำเสนอในบทความหน้าเกี่ยวกับค่าไฟเลี้ยงที่เหมาะสมกับการ Overclock ตอนนี้ก็ให้สังเกตุว่าชุดไฟ VCCIN นั้นก็คือไฟที่จ่ายให้ภาค Input VR ก่อนที่จะแยกจ่ายไฟไปยังจุดอื่นๆ
สิ่งที่น่าสนใจสำหรับนัก Overclock นั่นคือการอนุญาติให้เลือก Bclk Ratio ได้นั่นเอง แต่ก่อนใน SandyBridge และ Ivy Bridge นั้นเราถุกจำกดให้ใช้ได้ Bclk 100 เท่านั้น ไม่เหมือนกับ CPU ในตระกูล Hi-End อย่าง Sandy Bridge-E ที่สามารถปรับเลือก Bclk Ratio ได้ สำหรับ Haswell ณ ตอนนี้สามารถปรับแต่งได้แล้ว ได้แก่ Bclk 100, 125 และ 166Mhz โดยอาจมีค่าคาดเคลื่อนได้ +/- 5-7% ซึ่งตรงนี้ล่ะครับที่ทำให้เราสามารถ Overclock ความเร็วของ memory ได้สูงเกินระดับ DDR3000+ ได้แบบไม่ยากเย็นเลย เพียงแค่ขยับไปเล่น Bclk Ratio 125 หรือ 166Mhz + กับ อัตรทดของแรมที่เราตั้งไว้
Intel HD Graphics 4600
และอีกจุดที่สำคัญเลยของ Intergrade Graphics Processor ที่ติวมากับ Haswell นั้นคือรหัสใหม่ชื่อว่า GT2 รองรับ DX11.1, OpenCL 1.2 และ OpenGL 4.0 นอกจากนี้ยังปรับปรุงเรื่องของ Spec ความเร็วและเพิ่มจำนวนของ Shaders Units จากของเดิมบน Ivy Bridge 3770 (GT1) นั้นมีอยู่ 16Shader ส่วนบน Haswell หรือที่อยู่บน i7-4770K นั้นมีอยู่ 20 Shader รวมถึงความเร็วของ GPU สูงสุด 1250Mhz และยังสามารถ Overclock ไปได้อีกต่างหาก เอาไว้เราจะนำเสนอเรื่องราวของ IGP HD 4600 นี้ให้ชมกันเต็มๆ ภายหลังครับ
Intel Z87 Chipset
แน่นอนครับที่มีการเปลี่ยน Socket ใหม่ก็ย่อมจะมีชิปเซทคู่หูใหม่เกิดมาพร้อมกันด้วย นั่นคือ Intel Z87 Chipset หรือที่เรียกว่า ชิป PCH (Platform Controller Hub) ซึ่งจะมาเป็นคู่หูใหม่ขับเคลื่อนพร้อมกับ Haswell ซึ่งความแตกของชิปเซท Z77 และ Z87 นั้นลองดุตามภาพด้านล่างนี้เลยครับ ที่เห็นจะชัดเจนคือการรองรับ USB 3.0 เพิ่มขึ้นจากเดิม 4 ช่องเป็น 6 ช่องโดยที่ช่อง USB ทั้งหมดควบคุมโดย XHCI และช่องเสียบ SATA 6Gb/s จากเดิม รองรับแค่ 2 ช่อง เป็น 6 ช่อง
Intel Z87 Chipset Diagram
หน้าตา Block Diagram ของชิปเซท Z87 ที่แสดงถึงการเชื่อมต่อจุดต่างๆ โดยรวมแล้วก็คล้ายกับ Z77 ต่างกันเพียงแค่ที่รองรับ SATA 6Gb/s ได้แบบ Native แล้ว 6ช่อง และ USB 3.0 เพิ่มจาก 4ช่อง เป็น 6ช่อง ต่อไปเราจะไปดูหน้าตา CPU Intel Core i7-4770K ตัวจริงกันครับ
มาดูหน้าตาของกล่องตัว Retail หรือตัวขายจริงกันเลยดีกว่าครับ ซึ่งหน้าตาและการออกแบบกล่องของ i7-4770K เทียบกับ i7-3770K นั้นมีการออกแบบต่างกันอย่างชัดเจน โดยจะมีสีกล่องที่อ่อนกว่า
ด้านบนกล่องก็ยังมองทะลุเห็นตัว CPU อยุ่เหมือนเดิม เราสามารถดูรุ่นและ Week CPU ได้จากตรงนี้และบริเวณด้านข้างกล่องครับ
ด้านหน้ากล่อง i7-4770K แบบชัดๆ "Unlock the Power Within"
ด้านข้างกล่องระบุไว้ด้วยว่า IGP ด้านในตัว CPU นั้นเป็นรุ่น HD Graphic 4600
แกะกล่องดูกัน คงไม่ต้องอธิบายอะไรมากนะครับ เหมือนกล่อง CPU Intel เท่าๆ ไปนั่นล่ะ
ด้านในกล่องก็จะมี Heatsink Stock แกนทองแดงอยู่หนึ่งตัว, CPU Core i7-4770K และคู่มือ + สติ๊กเกอร์ Logo Core i7 รุ่นใหม่
รูปด้านซ้ายมือเป็นของ i7-4770K เป็นพัดลมที่ใช้ไฟเลี้ยง DC12V 0.17A ส่วนทางขวามือเป็นของ i7-3770K ที่ที่การใช้กระแสสูงกว่า DC 12V 0.24A ครับ
ส่วนบริเวณ Base ของ Heatsink นั้นก็ยังคงใช้ Thermalpad ติดมาให้พร้อมใช้งานเช่นเดิม และการออกแบบ Heatsink ก็ไม่ได้รับการเปลี่ยนแปลงใดๆ ทั้งสิ้น
ต่อไปมาดูหน้าตา CPU แต่ละรุ่นในอดีตที่ผ่านมาที่มีในมือเรา ณ ตอนนี้ โดยเริ่มจากทางซ้ายมือเป็นพี่ใหญ่ i7-3820 บน Socket LGA 2011 ซึ่งตัว CPU นั้นใหญ่กว่าเพิ่มอย่างเห็นได้ชัด ต่อมาตัวกลางเป้น i7-3770K และขวาสุดก็เป็น i7-4770K นั่นเอง
ด้านหลังของ CPU ครับก็จะแสดงให้เห็นถึงตำแหน่ง pin ของ CPU แต่ละตัว รวมถึงตำแหน่งของร่องบากทที่ไม่ตรงกันอีกด้วยสำหรับ Ivy Bridge และ Haswell
CPU Name | Sandy Bridge-E | Ivy Bridge | Haswell |
Processor | i7-3820 | i7-3770K | i7-4770K |
Technology | 32nm. | 22nm. | 22nm. |
Cores / Threads | 4/8 | 4/8 | 4/8 |
Frequency | 3.6 Ghz | 3.5 Ghz | 3.5 Ghz |
Max Turbo | 3.8 Ghz | 3.9 Ghz | 3.9 Ghz |
Memory | Quad Channel | Dual Channel | Dual Channel |
DDR3 Speed | 1333/1600 MHz | 1333/1600 MHz | 1333/1600 MHz |
L3 Cache | 10MB | 8MB | 8MB |
Intel HD Graphics | - | 4000 | 4600 |
GPU Max freq | - | up to 1250 MHz | up to 1250 MHz |
Hyper-Threading | Yes | Yes | Yes |
CPU Socket | LGA 2011 | LGA 1155 | LGA 1150 |
TDP | 130Watt | 77Watt | 84Watt |
AVX Extension | AVX | AVX | AVX2 |
ECS Z87 Motherboard
สำหรับเมนบอร์ดที่เราจะนำมาทดสอบร่วมกับ Core i7-4770K ในครั้งนี้ก็จะเป็นเมนบอร์ดจาก ECS รุ่น GANK Machine Z87H3-A2X Extreme โดยเราจะนำมาเป็นชุดทดสอบ Reference สำหรับการทดสอบ Haswell กัน ส่วนรีวิวแบบเต็มๆ ของเมนบอร์ดรุ่นนี้จะมีให้ชมในบทความหน้าครับ
ต่อไปเป็นการเตรียม System ทั้ง 3 Platform ที่จะนำมาทดสอบเปรียบเทียบกันว่ามีประสิทธิภาพต่างกันมากน้อยแค่ไหน ใครอยากรู้ว่า Haswell แรงขึ้นมากกว่าเดิมสักเท่าไร ไปดูผลการทดสอบกันครับ...
Systems Setup
i7-4770K
ชุดทดสอบแรกเป็นของ Intel Core i7-4770K โดยมีการตั้งค่าความเร็วในการทดสอบแบบเดิมๆ ทุกอย่าง และความเร็วของ Memory นั้นตั้งไว้ที่ DDR1600 CL9-9-9-24 1T เช่นเดียวกับอีก 2 ชุดการทดสอบด้วยครับ
Spec.
CPU | Intel Core i7-4770K |
CPU Cooler | Noctua NH-U12S Dual Fan |
Thermal Compound | Noctua NT-H1 |
Motherboard | ECS GANK Machine Z87H3-A2X Extreme |
Memory | Mushkin Redline DDR1866CL9 GB kit |
VGA | MSI GTX 660Ti PE |
Drive |
x1 Intel SSD520 Series 240GB OS. x1 ASUS DVD-RW Drive |
PSU | Thermaltake Tought Power 1350Watt |
OS | Window 7 SP1 64Bit. |
Display Driver | NVIDIA Froceware 320.18 Win7-64bit WHQL |
i7-3770K
Spec.
CPU | Intel Core i7-3770K |
CPU Cooler | Prolimatech LynX |
Thermal Compound | Noctua NT-H1 |
Motherboard | MSI Z77A-GD65 |
Memory | AVEXIR DDR2800CL12 8GB Kits |
VGA | MSI GTX 660Ti PE |
Drive |
x1 Intel SSD520 Series 240GB OS. x1 ASUS DVD-RW Drive |
PSU | Thermaltake Tought Power 1350Watt |
OS | Window 7 SP1 64Bit. |
Display Driver | NVIDIA Froceware 320.18 Win7-64bit WHQL |
i7-3820
Spec.
CPU | Intel Core i7-3820 (LGA2011) |
CPU Cooler | Prolimatech MegaHalem Rev.C + 120mm. Fanx1 |
Thermal Compound | GC-Extrteme |
Motherboard | ASUS Rampage IV GENE |
Memory | Mushkin Redline DDR1866CL9 GB kit |
VGA | MSI GTX 660Ti PE |
Drive | x1 Intel SSD520 Series 240GB OS. x1 ASUS DVD-RW Drive |
PSU | Thermaltake Tought Power 1350Watt |
OS | Window 7 SP1 64Bit. |
Display Driver | NVIDIA Froceware 320.18 Win7-64bit WHQL |
Intel Turbo Boost 2.0 Technology
CPU Idle @ 800Mhz
ก่อนอื่นเราไปชมการทดสอบงานของระบบ Intel Turbo Boost 2.0 กันก่อนครับ ซึ่งระหว่างที่เครื่องไม่มี Load หรือช่วง Idle นั้นความเร็วของ CPU จะลดลงไปในระดับ 800Mhz [8x100Mhz] นี่ก็คือจุดที่เปลี่ยนแปลงอย่างชัดเจนของ Hswell ที่มีการลดความเร็วในช่วง Idle ได้ต่ำกว่า Ivy Bridge มากถึงเท่าตัว คือก่อนหน้านี้ความเร็วของ CPU ช่วง Idle จะอยู่ที่ 1600Mhz นั่นเอง จึงทำให้ช่วง Idle นั้น Haswell จะใช้พลังงานที่ต่ำกว่านั่นเอง
Turbo Boost 2 Core @ 3.9Ghz Max
สำหรับการทำงานของ Turbo Boost นั้นจะแบ่งเป็น 2 ระดับ คือระดับแรกนั้นจะทำงานแบบ Dual Core หรือเมื่อมีการเรียกใช้งานไม่เกิน 2 Core โดยแต่ละ Core จะทำงานที่ 3.9Ghz สุงสุดของระบบ Turbo Boost 2.0
Turbo Boost 4 Core @ 3.7Ghz Max
สำหรับการทำงานที่หนักหริอใช้งานเต็มที่ 4 Core นั้น Turbo Boost จะเร่งความเร็งจากเดิม 3.5Ghz 4 Core ไปเป็น 3.7Ghz 4 Core ซึ่งมันจะจัดการเพิ่มความเร็วของ CPU ขึ้นไปอย่างอัตโนมัติ โดยที่เราไม่จำเป็นต้องไปปรับแต่งอะไรเลย และเรายังสามารถปิดการใช้งานของ Turbo Boost นี้ได้จาก BIOS ครับ
Overclocking Result.
ทิ้ง ท้ายกับผลการทดสอบ Overclock CPU Intel Core i7-4770K ด้วยชุดระบายความร้อนด้วยอากาศบนเมนบอร์ด ECS GANK Machine Z87H3-A2X Extreme แบบ Quick Test ก็ได้ที่ความเร็ว 4.7Ghz ด้วยไฟเลี้ยง 1.31V โดยประมาณ อุณหภูมิก็พอๆ กับ Ivy Bridge ล่ะครับสำหรับผลการ Benchmnark นั้นไว้รอชมในบทความหน้าละกันนะครับ ทิ้งท้ายไว้เพียงแค่นี้ก่อน
i7-4770K @ 4.7Ghz Vcore 1.31V + Memory DDR2666 CL11-13-13-13-35 2T 1.66V
Power Consumption.
อัตตราการบริโภคนั้นจากกราฟเราจะเห็นได้ว่า i7-4770K นั้นกินไฟเยอะกว่าทาง i7-3770K ตัวเก่าอยู่ราวๆ 20-60 Watt ในการทดสอบ เนื่องด้วยการติดตั้งตัว IGP ที่มีขนาดใหญ่ขึ้น จึงทำให้มีอัตราการกินไฟที่ดูสูงขึ้นมาเล้กน้อย เพราะถ้าสังเกตุ เราจะทราบว่าค่า TDP ของ i7-4770K นั้นอยู่ที่ 84Watt และ i7-3770K นั้นอยู่ที่ 77Watt ครับ สำหรับช่วงการทดสอบ CPU Full Load นั้นผมใช้ LinX AVX เป็นตัวทดสอบนะครับ จะร้อนและกินไฟกว่า Version ธรรมดาอยู่พอสมควร และความร้อนก็ถีบสูงกว่ากันเป็นหลัก 10 กว่าองศาเซลเซียสเลยทีเดียว ไว้ครั้งหน้าเราจะมาคุยถึงเรื่องความร้อนของ CPU กันจริงจังอีกที
Conclusion.
ก็เรียบร้อยไปแล้วนะครับสำหรับบททดสอบ CPU 4th Generation Intel Core i7-4770K หรือเจ้า Haswell ที่เป็นการต่อยอดจาก CPU Ivy Bridge ที่ยังคงใช้เทคโนโลยี Tri-Gate 22nm. เท่ากัน แต่สิ่งที่ได้รับการปรับปรุงนั้นคือการทำงานของ Cache L1 และ L2 ที่เพิ่มอัตราการส่งข้อมูลเป็นเท่าตัวต่อรอบสัญญาณนาฬิกา รวมถึงการติดตั้ง IGP HD 4600 เข้าไปตัว CPU อีกด้วยโดยประสิทธิภาพที่เขาว่ากันนั้นแรงขึ้นราว x2 เท่าตัวจากของการเลยทีเดียว ส่วนรายละเอียดการทดสอบเกี่ยวกับ IGP นั้นเราจะนำมาเสนอให้ชมกันเร็วๆ นี้อย่างแน่นอน ว่าจะแรงแบบที่เขาคุยกันไว้หรือไม่...?
จะว่าไปแล้ว Haswell ก็ไม่ได้รับการปรุงแต่งอะไรเกี่ยวกับโครงสร้างหลักที่ต่างไปจาก IvyBridge ไปมาก แต่สิ่งที่ต่างอีกจุดหนึ่งคือการยกชุด Regulate Voltage เข้าไปไว้ใน Die และเพิ่มความสามารถในการปรับแต่ง Bclk Ratio ได้ถึง 3 อัตราทดได้แก่ 100, 125 และ 166Mhz จึงทำให้การปรับแต่งค่า Overclock นั้นทำได้สนุกขึ้นกว่า Ivy Bridge อย่างมาก และยังสามารถปรับตัวคูณ CPU ได้สูงสุดถึง 80x เลยทีเดียว โดยที่ i7-3770K นั้นมีตัวคูณสูงสุดเพียง 63x เท่านั้น นอกจากนี้แล้วความสามารถในการควบคุม Memory DDR3 หรือ IMC นั้นก็เป็นที่น่าสนใจมาก หากใครติดตามผลงานของ Haswell มาโดคยตลอดจะทราบกันดีว่ามาควบคุมแรมได้ดีกว่า Ivy Bridge เป็นอย่างมาก อย่างน้อยๆ คุณก็วิ่ง DDR2800 + ได้แบบไม่ยากเย็นเลย และตอนนี้เท่าที่ทราบก็มีการทำลายสถิติโลกของแรม DDR3 ใหม่กันแล้วที่ DDR4100 + กันเลยทีเดียว นีบว่าเป็นอีกสิ่งหนึ่งที่น่าสนใจมากสำหรับคนที่ชื่นชอบการ Overclock Memory
พูดถึงเรื่องประสิทธิภาพกับความคุ้มค่า จากผลการทดสอบของเราทั้งหมด เริ่มจากเกี่ยวกับพวก Cache และ Memory นั้นบอกได้เลยว่าผลการทสดบอก็มีต่างอยู่บ้างไม่ว่าจะเป็นการคำนวณ Super Pi 32Mb ที่ต่างกันกับ Ivy Bridge ถึง 20 กว่าวินาทีกันเลยทีเดียว นี่ไม่ใช่เรื่องธรรมดาอย่างแน่นอน ส่วนเรื่องของการทดสอบ Memory Bandwidth นั้น i7-4770K ก็ทำได้ดีกว่า i7-3770K อยู่ระดับหนึ่งไม่ถือว่าฉีกมาก คงเป็นเพราะการปรับแต่ง L Cache ใหม่นั่นล่ะครับ ส่วนเรื่องการทำงานพวก Encoding & Rendering จากโปรแกรม X264, FryBench และ Cinebench นั้นถือว่าเห็นผลชัดเจนมากพอสมควร เพราะหากเทียบกับผลการทดสอบเก่านั้น กว่าเราจะเพิ่ม point หรือ fps ด้วยการ Overclock CPU บน Platform เก่านั้นก็ต้องลากกันเป็นหลัก 100-200Mhz ขึ้นไปถึงจะเห็นผลต่างที่ชัดเจน แต่สำหรับ i7-4770K นั้นที่ความเร็วเดิมๆ เทียบกันก็แสดงให้เห็นถึงการทำงานด้านนี้ได้ค่อนข้างชัดเจน ใครทำงานด้านนี้น่าจะส่งผลประสิทธิภาพได้สูงที่สุดเลยล่ะครับ
ผลการทดสอบทางด้าน 3D หรือการเล่นเกมนั้นบอกได้เลยว่าแทบไม่มีอะไรแตกต่างไปจากสถาปัตยกรรมเก่าเลย เลยแม้แต่น้อย สิ่งที่ต่างนั้นน้อยมาก ถ้าหากสังเกตุผลการทดสอบในการเล่นเกม Crysis 3, BF3 และ Tomb Raider 2013 นั้นเฟรมเรทเฉลี่ยในการเล่นเกมนั้นต่างกันราว 1 เฟรมเรทเท่านั้น เป็นเพราะว่ายุคนี้ CPU มันแรงพอที่จะขับ OS และ Graphics Card ได้สสบายๆ อยู่แล้ว หากต้องการความสามารถในการเล่นเกมที่ดีนั้นคงต้องพึ่งความสามารถของหน่วย ประมวลผล Graphics เป็นหลัก ไม่ใช่เปลี่ยน CPU ให้แรงขึ้น สรุปแล้วเรื่อง Gaming ไม่มีผลต่างที่มากสำหรับ Haswell และ Ivy Bridge แต่ที่เห็นผลก็พอจะมีบ้างก็พวกผลการทดสอบ 3DMark ในหมวดของ CPU test หรือ Physics test นั้น Haswell ทำให้เห็นผลได้ชัดเจนน่าจะเหมาะกับนัก Overclock ที่ชอบปั่นคะแนนเสียมากกว่า และทั้งหมดโดยภาพรวมแล้ว Performane ที่เพิ่มขึ้นมาจากจาก i7-3770K ต่อ i7-4770K แล้วเฉลี่ยราว 5% เท่านั้น
มุมมองของการ Upgrade ของผู้ที่ใช้งาน CPU Gen เก่าๆ อยู่อย่างสมัยพวก Nehalem นั้นผมว่าควรจะเริ่ม Upgrade เป็น Haswell ได้แล้ว ถ้าหากกำลังมองหา PC ใหม่ก็ไม่น่าผิดหวัง ส่วนคนที่ไม่ได้เปลี่ยนตามกระแสเน้นของใหม่เสมอนั้น หากคุณยังใช้ Sandy Bridge หรือ Ivy Bridge อยู่ ผมว่าคุณคงอาจจะไม่ Happy สำหรับผลการทดสอบที่เพิ่มขึ้นมาไม่มากนัก อันนี้ก็แล้วแต่จะพิจารณากันว่าคุ้มที่จะ Upgrade หรือไม่ หากอยากลองของใหม่ที่แรงๆ ก็ต้อบได้ว่า Haswell เป็น CPU 4 แกนที่แรงที่สุดในโลก ณ ตอนนี้ ถ้าอยากจัดก็อย่ารอช้า....วันนี้ก็เริ่มขายกันแล้ว สำหรับผลการทดสอบแบบ Overclock รูปแบบต่างๆ ของ i7-4770K นั้นพวกเราก็จะทยอยเอาความแรงที่ซ่อนเร้นในตัวมันออกมาให้ชมกันในเร็วๆ นี้ครับ โปรดติดตาม สำหรับวันนี้ผมเองกก็ขอลาไปแต่เพียงเท่านี้ สวัสดีครับ